วันพุธที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2560

รบบคอมพิวเตอร์

ความหมายและความเป็นมาของระบบคอมพิวเตอร์



             คอมพิวเตอร์มาจากภาษาละตินว่า Computare ซึ่งหมายถึงการนับหรือการคำนวณพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ให้ความหมายของคอมพิวเตอร์ไว้ว่า   “เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติทำหน้าที่เหมือนสมองกลใช้สำหรับ แก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์”
 คอมพิวเตอร์จึงเป็นเครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์ในด้านการคิดคำนวณและสามารถจำข้อมูลทั้งตัวเลข และตัวอักษรได้เพื่อการเรียกใช้งานในครั้งต่อไปนอกจากนี้ยังสามารถจัดการกับสัญลักษณ์ได้ด้วยความเร็วสูง โดยปฏิบัติตามขั้นตอนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในด้านต่างๆอีกมากอาทิ เช่น  การเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์   การรับส่งข้อมูล  การจัดเก็บข้อมูลในตัวเครื่องและสามารถประมวลผลจากข้อมูลต่างๆ ได้  ความเป็นจริงแล้วตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราเห็นๆกันอยู่นี้เป็นเพียงองค์ประกอบส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่ถ้าต้องการให้เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่เราต้องการนั้นจำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบพื้นฐาน 3  ประการ มาทำงานประสานร่วมกัน ซึ่งองค์ประกอบพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ประกอบไปด้วย    ฮาร์ดแวร์(Hardware) ซอฟต์แวร์(Software) และบุคลากร (Peopleware)

ยุคต่างๆของคอมพิวเตอร์

นับตั้งแต่ได้มีการประดิษฐ์เครื่อวคอมพิวเตอร์ขึ้นมาใช้งาน และใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน เราสามารถแบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ได้โดยใช้วิวัฒนาการของเครื่องเป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุค ซึ่งสามารถแบ่งยุคของคอมพิวเตอร์ออกเป็น 5 ยุค มีดังนี้ 
ยุคที่ 1
ยุคที่ 2
ยุคที่ 3
ยุคที่ 4
ยุคที่ 5

ยุคที่ 1 (The First Generation) ปี ค.ศ.1951-1958

          คอมพิวเตอร์ในยุคแรกนี้ ใช้สุูญญากาศในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้ต้องการกำลังไฟฟ้าเลี้ยงวงจรที่มี
ปริมาณมากและทำให้มีความร้อนเกิดขึ้นมาก จึงต้องติดตั้งเครื่องในห้องปรับอากาศ ความเร็วในการทำงานเป็นวินาที เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดใหญ่ สื่อที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ บัตรเจาะรู
          ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงาน คือ ภาษาเครื่องซึ่งเป็นภาษาที่ใช้รหัสเลขฐานสองทำให้เข้าใจยาก

          สรุป

          อุปกรณ์ : ใช้หลอดไฟสุญญากาศและวงจรไฟฟ้า
          หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นวินาที (Second)
          ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาเครื่อง (Machine Language)

ยุคที่ 2 (The Second Generation) ปี ค.ศ.1959-1964 

          เครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง กินไฟน้อยลง ราคาถูกลง เพราะมีการประดิษฐ์ทราานซิสเตอร์ขึ้นมาใช้แทนหลอดสุญญากาศ 
ทำให้ทำงานได้เร็วขึ้นความเร็วในการทำงานเท่ากับ 1/103 วินาที (มิลลิเซคคั่น) และได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องมากกว่าใช้หลอดสุญญากาศทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กกว่าหลอดสุญญากาศ 200 เท่า และได้มีีการสร้างวงแหวน
แม่เหล็ก (Magnetic Core) มาใช้แทนดรัมแม่เหล็ก (Magnetic Drum) เป็นหน่วยความจำภายใน ซึ่งใช้ในการเก็บข้อมูลและชุดคำสั่ง 
          ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้เขียนโปรแกรมในยุคที่ 2 นี้ คือ ภาษาแอสแซมบลี (Assembly) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้สัญลักษณ์แทนคำสั่งต่าง ๆ ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายกว่าภาษาเครื่อง

          สรุป

          อุปกรณ์ : ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) แทนหลอดไฟสุญญากาศ 
          หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นมิลลิวินาที (Millisecond)
          ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาแอสแซมบลี (Assembly),ภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN)

ยุคที่ 3 (The Third Generation) ปี ค.ศ.1965-1970 

          เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนามาใช้ในยุคนี้เป็นวงจรรวม หรือเรียกว่า "ไอซี" (IC : Tntegrated Ciruit) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูฏบรรจุลงในแผ่นซิลิกอน (Silicon) บาง ๆ ที่เรียกว่า ชิป (Chip) ในชิปแต่ละตัวจะประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันตัว จึงทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมแต่ความเร็วในการทำงานสูงขึ้น ความเร็วในการทำงานเพิ่มขึ้น1/106 วินาที (ไมโครเซคคั่้น) กินไฟน้อยลง ความร้อนลดลงและประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น 

          สรุป

          อุปกรณ์ : ใช้วงจรแบบไอซี (IC) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกบรรจุลงในแผ่น ซิลิกอน (Silicon)
ที่เรียกว่า (Chip)           
          หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นไมโคริวินาที (Microsecond)
          ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : COBOL , PL/1 , RPG , BASIC

ยุคที่ 4 (The fourth Generation) ปี ค.ศ. 1971-ปัจจุบัน

          ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาเอาวงจรรวมหลาย ๆ วงจรมารวมเป็นวงจรขนาดใหญ่ เรียกว่า LSI (Large Scale Integrated) ลงในชิปแต่ละอัน บริษัทอินเทล (Intel) ได้สร้างไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ซึ่งเป็นชิป 1 อัน ที่ประกอบด้วยวงจรทั้งหมดที่ต้องใช้ในการประมวลผลโปรแกรม ไมโครโปรเซสเซอร์ชิปที่ใช้ในเครื่องพีซี (PC : Personal Computer) มีขนาดกระทัดรัดประกอบด้วยส่วนประกอบของซีพียู (CPU) 2 ส่วน คือ หน่วยควบคุม (Control Unit) และหน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic/Logic Unit)
          ปัจจุบันได้มีการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายหมื่นวงจรรวมอยู่ในชิปเดียว เป็นวงจร LSI (Large Scale Integrated) และ VLSI (Very Large Scale Integrated) ในยุคนี้ได้มีการสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ได้แก่ ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ และซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ได้รับความนิยมมากเพราะมีขนาดเล็ก กระทัดรัดและราคาถูก แต่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำงานเร็วขึ้น ความเร็วในการทำงานเป็น 1/109 วินาที (นาโนเซคคั่น) และ 1/1012 วินาที (พิโคเซคคั่น) นอกจากนี้ วงจร LSI ยังได้ถูกนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เป็นการลดค่าใช้จ่ายพร้อมกับเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

          สรุป

          อุปกรณ์ : ใช้ระบบ LSI (Large Scale Integrated) ซึ่งเป็นวงจรที่ประกอบด้วยทรานซิสเตอร์หลายตัว และต่อมาได้รับการพัฒนาปรับปรุงเป็น VLSI ซึ่งก็คือ Microprocessor หรือ CPU
          หน่วยวัดความเร็ว : วัดเป็นนาโนวินาที (Nanosecond) และพิโควินาที (Picosecond)
          ตัวอย่างภาษาคอมพิวเตอร์ : ภาษาปาสคาล (PASCAL) ,ภาษาซี (C)

ยุคที่ 5 (The Fifth Generation) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 ขึ้นไป

          ในยุคที่ 4 และยุคที่ 5 ก็จัดเป็นยุคของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แต่ในยุคที่ 5 นี้มีการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยการจัดการ และนำมาใช้สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารจึงเกิดสาขา MIS (Management Information System) ขึ้น
          ในปี ค.ศ. 1980 ญี่ปุ่นได้พยายามที่จะสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้สามารถคิดและตัดสินใจได้เอง โดยสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มี "สติปัญญา" เพื่อใช้ในการตัดสินใจแทนมนุษย์จึงเกิดสาขาใหม่ขึ้นเรียกว่า สาขาปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artficial Intelligence) สาขาปัญญาประดิษฐ์เป็นสาขาที่เน้นถึงความพยายามในการนำเอากระบวนการทางความคิดของมนุษย์มาใช้ในการแก้ปัญหาด้วยระบบคอมพิวเตอร์  นอกจากนี้ มีการตื่นตัวในการจัดเก็บข้อมูลเป็นระบบฐานข้อมูล (Database) การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานด้านกราฟิก และมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software) เพื่อใช้กับงานเฉพาะอย่าง เช่น งานการเงิน งานงบประมาณ งานบัญชี งานสต๊อกสินค้า เป็นต้น
          เมื่อไมโครคอมพิวเตอร์มีขีดความสามารถสูงขึ้น ทำงานได้เร็ว การแสดงผล การจัดการข้อมูลสามารถประมวลได้ครั้งละมาก ๆ จึงทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน (Multitasking) ขณะเดียวกันก็มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์การโดยใช้เครือข่ายท้องถิ่นที่เรียกว่า LAN : Local Area Network เมื่อเชื่อมหลาย ๆ กลุ่มขององค์การเข้าด้วยกันจะเกิดเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์การ เรียกว่า อินทราเน็ต และหากนำเครือข่ายขององค์การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายสากลที่ต่อเชื่อมกันทั่วโลก เรียกว่า อินเตอร์เน็ต (Internet)
          คอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบันจึงเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกัน ทำงานร่วมกัน ส่งเอกสารข้อความระหว่างกัน สามารถประมวลผลรูปภาพ เสียง และวีดีทัศน์ ไมโครคอมพิวเตอร์ในยุคนี้จึงทำงานกับสื่อหลายชนิดที่เรียกว่า สื่อประสม (Multimedia)

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน สามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ในรุ่นปัจจุบันออกได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้ 

1. ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)

     ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วมาก และมีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์ชนิดอื่นๆ เครื่องซูปเปอร์คอมพิวเตอร์มีราคาแพงมาก มีขนาดใหญ่
 สามารถคำนวนทางคณิตศาสตร์ได้หลายแสนหลานครั้งต่อวินาที และได้รับการออกแบบเพื่อให้ใช้แก้ปัญหาขนาดใหญ่มากทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว เช่น การพยากรณ์อากาศล่วงหน้าเป็นเวลาหลายวัน การศึกษาผลกระทบของมลพิษกับสภาวะแวดล้อม ดังนั้น ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์จึงมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์มีหลายประเภท ตั้งแต่รุ่นที่มีหน่วยประมวลผล (Processing unit) 1 หน่วย จนถึงรุ่นที่มีหน่วยประมวลผลหลายหมื่นหน่วยซึ่งสามารถทำงานหลายอย่างได้พร้อม ๆ กัน 

2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe computer)

     เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีสมรรถภาพที่ต่ำกว่าซูปเปอร์คอมพิวเตอร์มาก แต่ยังมีความเร็วสูง และมีประสิทธิภาพสูงกว่ามินิคิมพิวเตอร์ หรือ ไมโครคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถให้บริการผู้ใช้จำนวนหลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ฉะนั้น จึงสามารถใช้โปรแกรมจำนวนนับร้อยแบบในเวลาเดียวกันได้ โดยเฉพาะถ้าต่อเครื่องเข้าเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้สามารถใช้ได้จากทั่วโลก ปัจจุบันองค์กรใหญ่ ๆ เช่น ธนาคาร  ใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ในการทำบัญชีลูกค้า หรือ การให้บริการจากเครื่องฝากและถอนเงินแบบอัตโนมัติ (automatic teller machine) เนื่องจากเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ถูกใข้งานมากในการบริการผู้ใช้พร้อม ๆ กัน เมนเฟรมคอมพิวเคอร์จึงต้องมีหน่วยความจำที่ใหญ่มาก

3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)

     มินิคอมพิวเตอร์ คือ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ๆ ซึ่งสามารถบริการผู้ใช้งานได้หลายคนพร้อม ๆ กัน แต่จะไม่มีสมรรถภาพเพียงพอที่จะบริการผู้ใช้ในจำนวนที่เที่ยบเท่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้ จึงทำให้มินิคอมพิวเตอร์เหมาะสำหรับองค์กรขนาดกลาง หรือสำหรับแผนกหนึ่งขององค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น

4. เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (Server Computer)

     เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(เช่น เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่นๆ)

5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

     ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก หรือเรียกว่า พีซี (Personal Computet : PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งอาจจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นในเครือข่าย กล่าวได้ว่าไมโครคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีหน่วยประมวลผลกลางเป็นไมโครโพรเซสเซอร์ ใข้งานง่าย ทำงานในลักษณะส่วนบุคคลได้ สามารถแบ่งแยกไมโครคอมพิวเตอร์ตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้

       5.1 คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop computer)

เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กถูกออกแบบมาให้ตั้งบนโต๊ะมีการแยกชิ้นส่วนประกอบเป็น ซีพียู จอภาพ และแผงแป้นอักขระ

      5.2. โน้ตบุ๊ก (Notebook or laptop)

โน้ตบุ๊ก คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ในที่ต่างๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนังเบา ในปัจจุบันมีขนาดพอ ๆ กับสมุดที่ทำด้วยกระดาษ

      5.3. แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop computer)

เป็นไมโครคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่วางใช้งานบนตักได้ จอภาพที่ใช้เป็นแบบแบนราบ ชนิดจอภาพผนึกเหลว (Liquid Crystal  Cisplay : LCD) น้ำหนักของเครื่องประมาณ 3-8 กิโลกรัม

       5.4. ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (Palmtop computer)

เป็นไมโครคอมพิวเตอร์สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง เช่น มีขนาดพอ ๆ สมุดท้่ทำด้วยกระดาษ

      5.5. เน็ตบุ๊ก (Netbook or laptop)

เน็ตบุ๊ก คือ คอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าไมโครคอมพิวเตอร์และเล็กกว่าโน้ตบุ๊ก ถูกออกแบบไว้เพื่อนำติดตัวไปใช้ตามที่ต่าง ๆ มีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา

       6. แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ (Tablet computer) 

แท็บเล็ตคิทพิวเตอร์ หรือเรียกสั้น ๆ ว่า แท็บเล็ต คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้ในขณะเคลื่อนที่ได้ ขนาดกลางและใช้หน้าจอสัมผัสในการทำงานเป็นอันดับแรก มีคีย์บอร์ดเสมือนจริงหรือปากกาดิจิตอลในการใช้งานแทนแป้นพิมพ์คีย์บอร์ด และมีความหมายครอบคลุมถึงโน้ตบุ๊กแบบ convertible ที่มีหน้าจอแบบสัมผัสและมีแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดติดมาด้วยไม่ว่าจะเป็นแบบหมุนหรือแบบสไลด์

หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์

                 หลักการทำงานเบื้องต้นของระบบคอมพิวเตอร์ เริ่มจากผู้ใช้ทำการกรอกข้อมูลหรือคำสั่งผ่านทางอุปกรณ์รับข้อมูล
(Input Devices) ซึ่งข้อมูลหรือคำสั่งต่างๆที่รับเข้ามาจะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก (Memory) จากนั้นก็จะถูกนำไปประมวลผลโดยหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing) แล้วนำผลที่ได้จากการประมวลผลมาเก็บไว้ในหน่วยความจำแรม พร้อมทั้งแสดงออกทางอุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) ดังนั้นระบบคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ ส่วนอุปกรณ์รับข้อมูล ส่วนประมวลผลกลาง หน่วยความจำ และอุปกรณ์แสดงผล

     คอมพิวเตอร์มีหลักการทำงานอยู่ 4 ขั้นตอน คือ


          1. รับข้อมูล คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลและคำสั่งผ่านอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลและคำสั่ง คือ คีย์บอร์ด เมาส์ และสแกนเนอร์ เป็นต้น


          2. ประมวลผลข้อมูล หรือ CPU (Central Processing Unit) ใช้คำนวณและประมวณผลคำสั่งต่างๆ ตามโปรแกรมที่กำหนด








          3. จัดเก็บข้อมูล คอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต เช่น ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ตยูเอสบีไดร์ ซึ่งหน่วยเก็บข้อมวลนี้สามารถ
แบ่งออกได้ 2 ประเภท คือ
3.1 หน่วยควมจำหลัก สามารถแบ่งตามลักษณะการเก็บข้อมูลได้ดังนี้คือ
     (3.1.1) หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ คือ หากเกิดไฟดับระหว่างใช้งาน ข้อมูลจะหาย เรียกว่า แรม (RAM)
     (3.1.2) หน่วยความจำแบบลบเลือนไม่ได้ คือ หน่วยความจำถาวร แม้ไฟจะดับข้อมูลก็จะยังอยู่เหมือนเดิม เรียกว่า รอม (ROM)

          3.2 หน่วยความจำสำรอง คือ หน่วยความจำที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นได้แก่ ฮาร์ดดิสก์ ดิสเกตด์ แผ่นซีดี และอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดพอร์ต ยูเอสบี





           4. แสดงผลข้อมูล เมื่อทำการประมวลผลแล้ว คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงข้อมูล เช่น หากเป็นรูปภาพกราฟิกก็จะแสดงผลทางจอภาพ ถ้าเป็นงานเอกสารก็จะแสดงผลทางเครื่องพิมพ์ หรือหากเป็นในรูปแบบของเสียงก็จะแสดงผลออกทางลำโพง เป็นต้น

ลักษณะเด่นและข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์


             เครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีจุดเด่น 4 ประการ เพื่อทดแทนข้อจำกัดของมนุษย์ เรียกว่า 4 S special ดังนี้

1. หน่วยเก็บ (Storage)

หมายถึง ความสามารถในการเก็บข้อมูลจำนวนมากและเป็นเวลานาน นับเป็น
จุดเด่นทางโครงสร้างและเป็นหัวใจของการทำงานแบบอัตโนมัติของเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องด้วย

2. ความเร็ว (Speed)

หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล (Processing Speed) 
โดยใช้เวลาน้อย เป็นจุดเด่นทางโครงสร้างที่ผู้ใช้ทั่วไปมีส่วนเกี่ยวข้องน้อยที่สุด 
เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สำคัญส่วนหนึ่งเช่นกัน

3. ความเป็นอัตโนมัติ (Self Acting)

หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่องอย่างอัตโนมัติ โดยมนุษย์มีส่วนเกี่ยวข้องเฉพาะในขั้นตอนการกำหนดโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลก่อนการประมวลผลเท่านั้น

4. ความน่าเชื่อถือ (Sure)

หมายถึง ความสามารถในการประมวลผลให้เกิดผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือนับเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ความสามารถนี้เกี่ยวข้องกับโปรแกรมคำสั่งและข้อมูลที่มนุษย์กำหนดให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง กล่าวคือ หากมนุษย์ป้อนข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ย่อมได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน

    ข้อจำกัดของคอมพิวเตอร์


            1.  การวางระบบคอมพิวเตอร์ต้องใช้เวลามาก การที่หน่วยงานใดตัดสินใจนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานนั้น ไม่ใช่ว่าจะนำเข้ามาใช้งานได้เลยทันที แต่ต้องมีการวางระบบงานกันเสียก่อน ว่าจะนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย ในการทำงานด้านใดบ้าง แล้วยังจะต้องมีการเขียนโปรแกรมคำสั่ง เพื่อสั่งให้คอมพิวเตอร์ ทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้ ซึ่งขั้นตอนในการวางระบบงาน จำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควร

            2. การรบกวนระบบงานปกติ เมื่อมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ที่ไม่เคยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์มาก่อน แน่นอนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบงานเดิม ที่เคยเป็นอยู่ เช่นการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน หรือคุณสมบัติของพนักงาน โดยอาจมีการส่งพนักงานไปฝึกอบรมการใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงนี้ มีผลกระทบถึง จิตใจของพนักงาน และอาจสร้างความไม่พอใจ และความวุ่นวายหลายประการได้ ในระยะแรกๆ ที่ต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับระบบงานใหม่

            3. การทำงานขึ้นอยู่กับมนุษย์ คอมพิวเตอร์เป็นได้แค่เครื่องมือช่วยมนุษย์ ในการทำงาน ทั้งนี้เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง และทำงานเฉพาะที่ได้รับคำสั่งจากมนุษย์เท่านั้น ไม่ว่างานที่สั่งให้ทำจะถูกหรือผิด เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่รู้จักคิดหรือรับปรุงวิธีการทำงานให้ดีขึ้น นับเป็นข้อจำกัดอย่างหนึ่งของเครื่องคอมพิวเตอร์

               งานที่เหมาะสำหรับทำด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

         แม้ว่าคอมพิวเตอร์จะมีความสามารถในการทำงานได้ถูกต้อง รวดเร็ว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ได้กับทุกๆงาน การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานควรพิจรณาลักษณะงานของงานตามคุณสมบัติต่อไปนี้

     1. มีปริมาณงานมาก

งานที่จะนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ควรมีปริมานมาก ถ้าใช่มนุษย์ปฎิติบัติงานอาจไม่เสร็จตามทันกำหนด เช่น  การสำรวจสำมะโนประชาการ การออกใบเสร็จรับเงิน การบวกเลขจำนวนหลายๆพันครั้ง เป็นต้น

     2. ต้องการความถูกต้องและรวดเร็ว

สำหรับงานที่จะต้องการผลลัพธ์อย่างถูกต้องและรวดเร็ว หากใช้มนุษย์ปฎิติบัติงาน อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ เช่น การทำงานกับตัวเลขจำนวนมากๆ เป็นระยะเวลานานๆ เป็นต้น

     3. งานที่มีขั้นตอนซับซ้อน

งานที่มีขั้นตอนซับซ้อน เช่น การคำนวณทางด้านวิทยาศาตร์หรือด้านวิศวกรรมศาตร์ เป็นต้น

     4. งานที่ต้อวทำหลายๆครั้ง หรือซำ้ๆ ซากๆ 

งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่น่าเบื่อหน่ายสำหรับผู้ปฎิติบัติการมาก ข้อผิดพลาดอาจเกิดขึ้นมาตามจำนวนครั้งซ้ำ แต่เครื่องคอมไม่มีความรู้สึกเบื่อหน่าย สมารถทำงานซ้ำๆ ซากๆ ได้โดยผลลัพธ์เหมือนเดิม

     5. งานที่ต้องการความรวดเร็ว

งานที่่ต้องการความรวดเร็วในการเก็บและเรียกใช้ข้อมูลเพื่อข่าวสาร เพื่อช่วยในการปฎิติบัติงานไปอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

                  งานที่ไม่เหมาะกับการทำด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์

     1. งานที่มีปริมาณงานเพียงเล็กน้อย เช่น การบวกเลขราคาสินค้าที่มีประมาณ100รายการ ซึ่งใช้เครื่องบวกเลขคิดเอาจะเร็วกว่า
     2. งานที่ยังไม่ได้วิเคราะห์และออกแบบระบบ (System Analysis and Design) วางจะต้องทำอะไรและอย่างไรบ้าง
    
     3. งานที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรือเป็นงานที่มีขั้นตอนการทำงานไม่แน่นอน

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์

      1.ประโยชน์ด้านการศึกษา ใช้เพื่องานด้านการเรียนการสอนในหลายรูปแบบ เช่นการ
นำบทเรียน การผลิตสื่อการสอน การใช้ซีดีรอมสำหรับการเรียนรู้ เกมเพื่อการศึกษาหรือ
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

      2.ด้านความบันเทิง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อความสนุกสนานบันเทิง เช่น เล่นเกม
ฟังเพลงชมภาพยนต์

      3.ด้านการเงิน การธนาคาร ใช้ในการเบิก - ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การโอนเงินด้วย
ระบบด้วยอัตโนมัติโดยโอนเงินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยผ่านระบบเครือข่าย
คอมพิวเตอร์ การดูข้อมูลตลาดหุ้นการทำกราฟแสดงยอดขาย

      4.ด้านการสื่อสารและคมนาคม ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต สื่อสาร
ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมการติดต่อสื่อสารผ่านโทรศัพท์ การคมนาคมทางเรือ เครื่องบิน
และรถไฟฟ้า

      5.ด้านศิลปะและการออกแบบ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการวาดรูปการ์ตูนออกแบบ
งานและการสร้างภาพกราฟิกหรือการตกแต่งภาพในคอมพิวเตอร์

      6.ด้านการแพทย์์ ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยงานด้านการแพทย์หลายด้าน
เช่น การเก็บประวัติคนไข้ การใช้ทดลองประกอบการวินิจฉันของแพทย์ใช้ในการตรวจ
เลือก ตรวจปัสสาวะ การผ่าตัดหัวใจการตรวจสอบห้องพักผู้ป่วยว่าว่างหรือไม่ การ
ควบคุมแสงเลเซอร์การเอ็กซ์เรย์ การตรวจคลื่อนสมองคลื่นหัวใจ เป็นต้น

      7.ด้านวิทยาศาสตร์และเคมี ใช้ในการวิเคราะห์สูตรทางเคมีการคำนวณสูตรทาง
วิทยาศาสตร์การค้นคว้าทดลองในห้องวิทยาศาสตร์ การคำนวณเกี่ยวกับระบบสุริยะ
จักรวาลและการเกิดปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงดาวต่างๆ

             การบํารุงรักษาคอมพิวเตอร์

          วิธีการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ง่ายๆ 10 วิธีดังนี้
1.ทำความสะอาดคอมพิวเตอร์บ้าง : วิธีการทำความสะอาดคอมพิวเตอร์นั้นไม่ยากอย่างที่เราคิดครับ แต่ก็ต้องทำให้ถูกหลักด้วยนะครับ เริ่มจากการถอดปลั๊กไฟก่อน และทำความสะอาดโดยใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่า หรือน้ำยาทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ เช็ดส่วนต่างๆที่เป็นตัวเครื่องหรือกรอบหน้าจอ เมาส์ คีย์บอร์ด รวมถึงสายไฟคอมพิวเตอร์

2.เป่าฝุ่นหรือกำจัดฝุ่นที่อยู่บนตัวเครื่อง : สำหรับวิธีนี้แนะนำให้ใช้แปลงทาสีที่มีขนอ่อนๆ อาจจะเป็นแปรงด้ามไม้ไผ่หาซื้อได้ตามร้านวัสดุก่อสร้างครับ เพราะหน้าจอหรือตัวเครื่องบางรุ่น หากใช้แปรงที่มีขนหนาอาจทำให้เป็นรอยได้ อย่าลืมใส่ผ้าปิดจมูกก่อนทำความสะอาดนะครับถ้าใครมีเครื่องเป่าฝุ่นหรือเป่าลม สามารถเป่าเครื่องได้นะครับเพื่อไล่ฝุ่นออกจากคอมพิวเตอร์

3.ตรวจเช็คความเรียบร้อยภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ : วิธีนี้อาจยุ่งยากหน่อยสำหรับผู้ที่ไม่ถนัดในด้านการช่างครับ เพราะต้องทำการเปิดฝาเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะต้องไขน็อตที่ล็อกฝาข้างอยู่ ควรตรวจเช็คพัดลมระบายความร้อนและสายไฟที่อยู่ภายในครับว่ายังอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีอยู่หรือเปล่าเพราะความร้อนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คอมพิวเตอร์เสียได้เพราะอุปกรณ์สึกหรอ

                                                  
4.จัดวางคอมพิวเตอร์ให้ถูกหลัก : สำหรับผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ การจัดวางหน้าจอคอมพิวเตอร์ควรวางให้ห่างจากกำแพง หรือมีช่องว่างด้านหลังจอประมาณ 1 ไม้บรรทัด ครับเพราะความร้อนที่กระจายออกมาจะได้มีการระบายที่โล่งและไม่เกิดอุณหภูมิสูง รวมถึงตัวเคสคอมพิวเตอร์ก็ควรตั้งในที่มีช่องระบายความร้อนให้ลมสามารถพัดเข้า-ออกได้  ผู้ที่ใช้โน้ตบุ้คก็เช่นเดียวกันครับ ควรยกระดับด้านล่างของโน้ตบุ้คให้มีช่องว่างระบายอากาศด้านล่างด้วย เนื่องจากโน้ตบุ้คจะมีความร้อนที่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไป แนะนำให้หาพัดลมตัวเล็กๆ หรือพัดลมตั้งพื้นเป่าจะแน่นอนสุดครับ เย็นทั้งคนและเครื่อง

5.เข้าศูนย์หรือร้านซ่อมคอมใกล้บ้าน : วิธีนี้สำหรับคนที่ไม่สะดวกในการจัดการคอมพิวเตอร์ก็ต้องฝากให้เป็นงานของช่างคอมพิวเตอร์ช่วยตรวจสอบกันว่าอุปกรณ์ต่างๆยังอยู่ในสภาพดีไหม ก่อนตรวจเช็คสอบถามราคาในการดำเนินการก่อนนะครับ

                                              
6.จัดการไฟล์ที่ไม่ได้ใช้แล้วหรือไม่สำคัญ : ไฟล์ต่างๆที่เราดาวน์โหลดมาหรือเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หากไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือไม่สำคัญก็ควรลบทิ้งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ครับ เพราะจะทำให้ไม่หนักเครื่องในส่วนของหน่วยความจำ จะได้พร้อมและมีทีว่างรับข้อมูลใหม่

7.จัดระเบียบโฟลเดอร์ต่างๆ : ในส่วนนี้จะช่วยประหยัดทั้งเวลาและช่วยในเรื่องการทำงานของเราได้เลยครับเพราะหากเราจัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆให้เป็นระเบียบเรียบร้อย เวลาที่หาไฟล์ต่างๆก็จะสะดวกมากขึ้น เครื่องก็จะทำงานไม่หนักครับ

8.กำจัดและสแกนไวรัสในคอมพิวเตอร์ : วิธีนี้อาจต้องใช้เวลาหน่อยครับเพราะแน่นอนว่าสำหรับคนที่ใช้คอมพิวเตอร์มานานข้อมูลต่างๆรูปภาพไฟล์เพลง งานต่างๆมากมายที่อยู่ในเครื่องมาจากหลากหลายที่ ทำให้มีไวรัสแฝงตัวอยู่ในโฟลเดอร์ต่างทั้งที่เราไม่รู้บ้าง ยิ่งข้อมูลมากยิ่งใช้เวลาสแกนนานมากขึ้น ลองหาโปรแกรมสแกนไวรัสสักตัวอย่างเช่น nod32 เพื่อให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ไม่มีปัญหาครับ

                                               
9.ลบโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้งานทิ้ง : หากเรารู้ว่าโปรแกรมไหนที่เราไม่ได้ใช้งานแล้ว หรือเกมส์ต่างๆที่เราลงไว้ในคอมพิวเตอร์ไม่ได้เล่นเราควรจะลบออกครับเช่นเดียวกับโฟลเดอร์และไฟล์ เพราะจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราไม่ทำงานหนักที่ต้องเตรียมโปรแกรมต่างๆคอยเสิร์ฟเวลาที่เราจะใช้งาน

10.หมั่นหาวิธีหรือการใช้งานที่ถูกต้อง : จริงๆแล้ววิธีนี้ก็คือการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้ถูกต้องตามพื้นฐานครับ เพราะถ้าเราไม่รู้หลักในการใช้งานแล้ว ตั้งแต่ข้อ 9 จนถึง 1 ที่กล่าวมาก็อาจทำให้เราละเลยในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์จากการใช้งานที่ไม่ถูกต้องได้ ไม่ยากครับเพียงแค่เราคอยเอาใจใส่ทั้งตัวเราและคอมพิวเตอร์ ต้องเริ่มจากตัวเราก่อนครับเพราะถ้าเราไม่ดูแลสุขภาพตัวเราก่อน เวลาที่เราจะดูแลคอมพิวเตอร์ก็จะมีน้อยลงครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น