องค์ประกอบระบบอินเทอร์เน็ต
องค์ประกอบระบบอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นาดยักษ์ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก โดยมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลระหว่างกันเป็นหนึ่งเดียว คอมพิวเตอร์แต่ละ เรื่องสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ตัวอักษร ภาพ และเสียงได้ รวมทั้งสามารถที่จะทําการ คนหาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
อินเทอร์เน็ต ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ
1. เครือข่ายที่เชื่อมคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน และ
2. ข้อมูลที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเก็บเอาไว้ พร้อมกับมีความสามารถที่ช่วยให้เราค้นหาข้อมูล ต้องการได้ในเวลาอันสั้น
ฉะนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สําหรับยุคสังคมข่าวสารอย่างเช่นปัจจุบันอย่างมาก ถ้าขาดสิ่งใด หนึ่งไปอินเทอร์เน็ตก็แทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เช่น ถ้ามีแต่เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพียงอย่างเดียว ขาดข้อมูลที่มีประโยชน์ หรือไม่สามารถค้นหาข้อมูลที่ต้องการจากเครือข่ายนั้นได้ ก็จะไม่ได้อะไรจาก ในทางกลับกัน ถ้ามีข้อมูลมากมาย แต่มีคอมพิวเตอร์ไม่กี่เครื่องเท่านั้นที่สามารถเรียกใช้งานข้อมูล เพราะขาดระบบเครือข่ายที่ดี ข้อมูลเหล่านั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ ให้เท่าที่ควร
สิ่งสําคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะกล่าวถึง คือ อินเทอร์เน็ตมีมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่ชัดเจนและเป็น วันหนึ่งอันเดียวกัน ทําให้การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด คนละแบบ เป็นไปได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะ เป็นเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลชนิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น PC แมคอินทอช หรือเครื่องแบบใด ๆ ก็ตาม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคอมพิวเตอร์ที่ประกอบกันเข้าเป็นเครือข่ายหลักของอินเทอร์เน็ต มักจะเป็นระบบเครือขายของมินิคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LA) และเครือข่ายของเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ บางคนจึงเรียกอินเทอร์เน็ตว่าเป็น “เครือข่ายของเครือข่าย คอมพิวเตอร์” (Network of Networks) ส่วนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั้งหลายนั้นมักจะไม่ได้ต่ออยู่กับ อินเทอร์เน็ตตลอดเวลา เพียงแต่เชื่อมต่อเข้าไปเป็นครั้งคราวตามความต้องการใช้งานเท่านั้น
แต่ความหมายของอินเทอร์เน็ตคงไม่ใช่เพียงแค่นี้ ยังมีความหมายกว้างขวางเกินกว่าที่กล่าวมา บางคนมากมายนัก และเนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วและมีการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนที่เป็นผู้ใช้ของอินเทอร์เน็ตอีกด้วย
เข้บางคนอาจมองว่าเป็นแหล่งข้อมูลบันเทิงมหาศาลในเรื่องต่าง ๆ เช่น รายการภาพยนตร์ การเลือกซื้อ สินค้า โปรแกรมการท่องเที่ยวต่าง ๆ ฯลฯ บางคนอาจมองว่าเป็นห้องสังคมศาสตร์ และบางคนอาจมองว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ให้เข้าไปใช้งานคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นจากระยะไกลได้ พร้อมกับรับ-ส่งข้อความ กับผู้อื่นผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์หรือ E-mail นั่นเอง แต่จากคําตอบที่ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ที่รับส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ และมีความสามารถที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลได้ในเวลาอัน รวดเร็วนี้ คงพอจะทําให้สามารถมองเห็นภาพของอินเทอร์เน็ตได้กว้างขวางขึ้น สําหรับบริการต่าง ๆ ของ อินเทอร์เน็ตนั้นมีอยู่มากมายหลายด้าน
เพราะสังคมทุกวันนี้เป็นยุคของข่าวสารข้อมูล การสื่อสารในรูปแบบต่าง ๆ ถูกพัฒนาขึ้นให้คนเรา สื่อสารถึงกันได้ง่ายและสะดวกขึ้นมากกว่าแต่ก่อน ความสามารถที่จะสื่อสารถึงกันด้วยคําพูดผ่านทางโทรศัพท์ อย่างอดีตคงจะไม่เป็นการเพียงพออีกต่อไป ความต้องการของคนเรามีมากกว่านั้น เช่น ต้องการเห็นภาพมาย พร้อมเสียง และข้อความที่เป็นตัวอักษร รวมทั้งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งอินเทอร์เน็ตสามารถทําได้จึงเข้ามา มีบทบาทมากในปัจจุบันนี้
เมื่อทําการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายของระบบอินเทอร์เน็ตแล้ว จะทําให้สามารถติดต่อสื่อสารกับ อน มว่าผู้นั้นจะอยู่ ณ ที่แห่งใดบนโลกก็สามารถที่จะส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ไปหากันได้ หรือจะเข้าไป การคนคว่าหาข้อมูลที่อยู่ในแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ภายในเวลาไม่กี่นาที โดยไม่จําเป็นที่จะต้องเดินทางไป
ออนน ๆ ควยตนเอง เพียงแค่นั่งอยู่ที่บ้านหรือที่ทํางานก็สามารถที่จะทําได้ ความสะดวกสบาย และมีประสิทธิภาพเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่เคยทําได้มาก่อน นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายของการใช้งานก็นับว่าถูกกว่าวิธีอื่น เมื่อเทียบกับการติดต่อทางโทรศัพท์ การส่งโทรสาร และการส่งข้อมูลผ่านโมเด็มโดยตรงกับปลายทางแล้ว การใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตนี้มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามากหลายเท่าตัว นี่ก็เป็นอีกเหตุผลหลักที่ว่าทําไม ถึงหันมาใช้ระบบอินเทอร์เน็ตกันมากขึ้น อินเทอร์เน็ตจึงนับว่าเป็นการปฏิวัติสังคมข่าวสารครั้งใหญ่ที่สุดใน ยุดปัจจุบันนี้
การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นมีความคล่องตัวเช่นเดียวกับการใช้โทรสาร คือ ถ้ามีบริการโทรศัพท์ เข้าไปถึง ก็สามารถที่จะใช้คอมพิวเตอร์กับโมเด็มต่อเข้ากับเครือข่ายของระบบอินเทอร์เน็ตได้เสมอ อย่างไร เก็ตาม ถ้าเปรียบเทียบการใช้งานอินเทอร์เน็ตกับบริการสื่อสารต่าง ๆ ในประเทศ เช่น โทรสาร การส่งข้อมูล ผ่านโมเด็ม อินเทอร์เน็ตอาจไม่เหมาะหรืออาจมีค่าใช้จ่ายไม่ถูกไปกว่าบริการเหล่านั้น แต่ถ้ามองถึงความสามารถ ที่เพิ่มขึ้นในแง่การติดต่อสื่อสารข้อมูลหลายรูปแบบ เช่น ตัวอักษร ภาพ และข้อมูล คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ รวมทั้ง การติดต่อไปยังเครือข่ายในต่างประเทศแล้ว การใช้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตจะมีข้อได้เปรียบที่มากกว่าอย่าง เห็นได้ชัด และมีราคาถูกมากกว่า
มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต
โพรโตคอล (Protocol) คือ ตัวกลาง หรือภาษากลางที่ใช้เป็นมาตรฐานสําหรับการสื่อสารในระบบ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์นับร้อยล้านเครื่อง ซึ่ง แต่ละเครื่องมีความแตกต่างกันทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโพรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะ ติดต่อสื่อสารให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโพรโตคอลก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษาของระบบเครือข่าย อินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP IP การทํางานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็กเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะกระจายแพ็กเก็ต ออกไปหลายเส้นทาง แพ็กเก็ตเหล่านี้จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนํามาประกอบรวมกันเป็นข้อมูลที่ สมบูรณ์อีกครั้ง
ไอพีแอดเดรส (IP Address) คือ หมายเลขประจําเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุด (.) ขึ้นระหว่างชุด เช่น 193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจเราเรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก InterNIC)
หมายเลข IP Address ที่ใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol Version 4 (IPv4) ทั้งนี้การขยายตัว ของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว พบว่าจํานวนหมายเลข IP Address ของ IPv4 กําลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต จึงได้มีการพัฒนา อินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก (Internet Protocol Version 6 ; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ต
โพรโตคอล IPv4 การปรับปรุงที่ชัดเจนของ IPv6 คือ ความยาวแอดเดรสที่เปลี่ยนจาก 32 บิต เป็น 128 บิต โดยวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงเพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพ และความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (Application)ใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธภาพในการปละมวลผลแพ็กเก็ต(Packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี
โดเมน (Domain Name) หมายถึง ชื่อที่ใช้ระบุลงในคอมฯ ใช้แทนไอพีแอดเดรสที่เป็นตัวเลข แต่ละโดเมนจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกติดตั้งให้คล้ายกับชื่อของบริษัทหน่วยงาน หรือองค์กรของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่ิอ
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server หรือ DNS) ทำหน้าที่ในการแปลงโดเมนเนมไปเป็นไอดีแอดเดรส หรือทำกลับกันได้ นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นเพิ่มเติมอื่นๆ อีก เช่น แจ้งชื่อของอิีเมล์เซิร์ฟเวอร์ใน Domain ที่รับผิดชอบด้วย ในระบบ DNS จะมีการกำหนด Name Space ที่มีกฎเกณฑ์อย่างชัดเจน มีกลไกใรการเก็บข้อมูลเป็นฐานข้อมูลแบบกระจาย ทำงานในลักษณะของไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์(Client/Server)
อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
ในเทอร์เน็ตเป็นกลุ่มเครือข่ายที่มีหลายองค์กรช่วยดูแลและบริหารงาน โดยมีเอ็นเอสเอฟเป็นอาคาร ที่มีบทบาทสําคัญเป็นอย่างยิ่ง ในอินเทอร์เน็ตมีคณะทํางานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น
(Interาat Society) ทําหน้าที่ดําเนินกิจการตามวัตถุประสงค์หลักของอินเทอร์เน็ต ภายใน 5 ปี สามานย่อยหลายกลุ่ม เช่น AB (Internet Architecture Board) ทําหน้าที่พิจารณาอนุมัติมาตรฐาน ก็จะนอินเทอร์เน็ต IETF (Internet Engineering Task Force) ทําหน้าที่พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ อินเทอร์เน็ต และส่งต่อไปให้ ISOC พิจารณาอนุมัติทั้ง ISOC และ IFIF เป็นกลุ่มที่ดําเนินงานโดยผู้เป็น อาสาสมัครทั้งหมด อินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนสภาพจากเครือข่ายเพื่อการวิจัยไปเป็นเครือข่าย “มวลชน” มี เช้แราบทุกกลุ่มกระจายอยู่ทั่วโลก จนสามารถกล่าวได้ว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายแห่งยุคโลกาภิวัตน์ Globaration) ที่เชื่อมโยงเข้าเป็นหนึ่งเดียว
ประโยชน์ของระบบอินเทอร์เน็ต
อนแรกคร์เน็ต คือ เครือข่ายที่ครอบคลุมไปทั่วโลก พร้อมกับมีข้อมูลที่มากมายมหาศาลทุกประเภท ได้ค้นคว้าและรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้ แต่เพียงเท่านั้นคงยังไม่ทําให้เห็นถึงประโยชน์ของ อินเทอร์เน็ตมากนัก ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตมีมากมายหลายด้านต่าง ๆ กัน ดังนี้
1. ด้านการศึกษา สามารถที่จะต่อเข้าไปยังระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลต่าง ๆ ได้ ไม่ เป็นข้อมูลทางวิชาการจากที่ต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้อินเทอร์เน็ตจะทําหน้าที่เหมือนห้องสมุดขนาดยักษ์
เราต้องการมาให้ถึงบนจอคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ทํางานได้ภายในเวลาไม่กี่วินาทีนาทีจาก
แหล่งข้อมูลทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม สังคมศาสตร์ กฎหมายและ อื่น ๆ นักวิจัยอาจสั่งให้เปอร์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยทําการประมวลผลข้อมูลของตนแล้วส่งรายงาน กลับมาให้ได้ แม้ว่าเขาจะอยู่ในห้องทดลองที่อย่าห่างออกไปหลายพันกิโลเมตร โดยใช้บริการของอินเทอร์เน็ต นักศึกษาในมหาวิทยาลัยสามารถติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กําลังศึกษาอยู่ได้ ทั้ง ข้อมูลที่เป็นตัวอักษร ภาพและเสียง หรือมัลติมีเดียต่าง ๆ
2. ด้านการรับส่งข่าวสาร ผู้ใช้ที่ต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตสามารถรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ - กาail กับผู้ใช้คนอื่น ๆ ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็วได้โดยมีค่าใช้จ่ายต่ํามาก เมื่อเทียบกับการส่งจดหมายหรือ ส่งข้อมูลวิธีอื่น ๆ นอกจากนั้นยังอาจส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ ไป จนถึงข้อมูลแบบมัลติมีเดียที่เป็นภาพและเสียงได้อีกด้วย หรืออาจก็อปปีแฟ้มข้อมูลที่เป็นโปรแกรม คอมพิวเตอร์ซึ่งแจกฟรีจากที่ต่าง ๆ มาทดลองใช้งานก็ได้
3. ด้านธุรกิจการค้า อินเทอร์เน็ตมีบริการในรูปแบบของการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์ หรือ Teleshoppiา สามารถที่จะเลือกดูสินค้าพร้อมทั้งคุณสมบัติต่าง ๆ ผ่านจอคอมพิวเตอร์แล้วสั่งซื้อ และจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตได้ทันที นับเป็นความสะดวกรวดเร็วมาก สินค้าที่มีจําหน่ายก็มีครบทุกประเภท เหมือนกับห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ บริษัทต่าง ๆ จึงมีการลงโฆษณาขายสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตกันมาก ขึ้น ทําให้ธุรกิจลักษณะนี้มีเพิ่มขึ้นเป็นลําดับ นับเป็นการใช้งานอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์อย่างจริงจังจน บางแห่งถึงกับจัดทําแค็ตตาล็อกอิเล็กทรอนิกส์เตรียมไว้ให้ลูกค้าเลือกซื้อสินค้าก็มี อย่างไรก็ตาม การซื้อ สินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนี้จะสะดวกสําหรับผู้ที่มีบัตรเครดิต ส่วนผู้ที่ไม่มีก็ทําได้ลําบาก ถ้าเป็นสินค้าที่สั่งซื้อ จากผู้ขายที่อยู่ต่างประเทศ สําหรับในประเทศไทยการซื้อสินค้าแบบนี้ยังไม่เป็นที่นิยมแพร่หลายมากนัก นอกจากนี้ ผู้ใช้ที่เป็นบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการและสนับสนุนลูกค้าของตนผ่าน อินเทอร์เน็ตได้ เช่น การตอบคําถามหรือข้อสงสัยต่าง ๆ ให้คําแนะนํา รวมถึงการให้ข่าวสารใหม่ ๆ แก่ ลูกค้าได้ รวมทั้งถ้าเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ก็อาจแจกจ่ายตัวโปรแกรม ทั้งตัวจริง ตัวทดลอง (Dลกาว) ตัวแก้ไข (Patch or Fix) และแม้กระทั่งเวอร์ชั่นใหม่ ๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ได้โดยตรงอีกด้วย
4. ทางด้านบันเทิง ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ที่ผู้ใช้ได้รับมากที่สุดด้านหนึ่ง นอกจากความบันเทิง แล้วยังเป็นการพักผ่อนหย่อนใจหรือสันทนาการ เช่น การเลือกอ่านวารสารต่าง ๆ ที่ชื่นชอบผ่าน อินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกกันว่าเป็น Magazine แบบ Online รวมถึงหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมี ภาพประกอบบนจอคอมพิวเตอร์เหมือนกับปกที่ดูอยู่ทุกวันเกือบทุกประการ ซึ่งขณะนี้มีบริการรับสมัคร สมาชิกผ่านอินเทอร์เน็ตและให้สมาชิกเรียกดูวารสารได้ตามที่สมัคร ผู้ผลิตวิดีโอ ภาพยนตร์ลงโฆษณาและ ตัวอย่างหนึ่งใหม่ ๆ ในอินเทอร์เน็ตให้ผู้สนใจก็อปปี้แฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวอย่างหนังสือหรือภาพเคลื่อนไหวและ เสียงไปดได้ด้วย ซึ่งนับเป็นบริการที่น่าสนใจไม่น้อย จะเห็นได้ว่าอินเทอร์เน็ตได้ปฏิวัติสังคมข่าวสารให้ พัฒนารุดหน้าไปมากและให้ประโยชน์กับผู้ใช้อย่างมากมายมหาศาล อาจกล่าวได้ว่าในยุคต่อไปอาจไม่มี คอมพิวเตอร์เครื่องใดที่ไม่ได้ต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต และบริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตก็มีการพัฒนาให้ดีขึ้น ตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
นอกจากประโยชน์ที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นมุมมองของผู้ใช้ข้อมูลหรือบริการทั่ว ๆ ไปแล้วในแง่ของ ผู้ให้ข้อมูล เช่น ผู้ผลิตสินค้าและบริการต่าง ๆ อินเทอร์เน็ตก็มีประโยชน์ตรงที่เป็นช่องทางสําหรับการเผยแพร่ ข้อมูลของตนเองได้ในวงกว้างขวางด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ํา และแถมยังสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่ใช้งาน อินเทอร์เน็ตได้โดยตรง การโฆษณาเผยแพร่ข้อมูล เรื่องราวต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตสามารถขยายตัวได้ อย่างรวดเร็ว รวมทั้งกลายเป็นช่องทางหรือเวทีในการแสดงความคิดเห็น ถกเถียงแลกเปลี่ยนทัศนะในเรื่อง ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ ที่สามารถโต้ตอบกันได้ชนิดทันต่อเหตุการณ์หรือความ เปลี่ยนแปลง และค่อนข้างจะเป็นอิสระต่อการควบคุมหรือกลั่นกรองขององค์กรหรือหน่วยงานในภาครัฐ ของแต่ละประเทศ
ความง่าย ราคาถูก และความรวดเร็วของการโฆษณาเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ต บางครั้งก็มี ผลในทางตรงกันข้ามกลายเป็นการเปิดโอกาสให้ใคร ๆ ทําการเผยแพร่ข้อมูลในเรื่องที่ไม่ดีไม่งามหรือเป็น การให้ร้ายผู้อื่นได้โดยง่าย โดยลงทุนลงแรงเพียงเล็กน้อย แถมยังมีผลในวงกว้างไปทั่วโลกอีกด้วย
บริการต่าง ๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต
เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก ในแต่ละเครือข่ายก็จะมีเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ทําหน้าที่เป็นผู้ใช้บริการ ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต์ (Host) เชื่อมต่อ อยู่เป็นจํานวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่าง ๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ที่เจ้าของ เครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้นในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและ โปรแกรมที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบ จะทุกด้าน บริการต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ตโดยสามารถแบ่งได้เป็นหมวดได้ดังนี้
1. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW)
เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม คือ บริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดียบน อินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ เสียง หรือ วิดีโอก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซต์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) กล่าวคือ จะมีข้อความหรือรูปภาพที่สามารถเชื่อมโยงไปยัง เอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรง โดยมีการทํางานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้ สามารถค้นหาข้อมูลจากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรมที่ใช้ดข้อมูลเว็บ เบราว์เซอร์ (Web Browser) เช่น WWWW.sanook.com ที่สามารถค้นหาและเชื่อมโยงไปส่ข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่น ข่าว วาไรตี้ เกมส์ กีฬา เป็นต้น
2. จดหมายอเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกันและกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความไปยังสมาชิกที่ ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย ในการ รับ-ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์นั้นจะต้องมีที่อยู่ในการจัดส่งเช่นเดียวกับการส่งจดหมายปกติ ซึ่งที่อยู่ของ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์เรียกว่า E-mail Address
3. การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)
เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สําหรับการ โอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่อง ของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด (Upload) ปัจจุบันการโอนย้ายข้อมูล หรือ FTP ใช้กันอย่างแพร่หลาย และแต่ละแห่งจะมีการบริการข้อมูลแตกต่างกันไป แต่โดยปกติแล้วในการโอนย้ายข้อมูลจะต้องมีการ อนุญาตให้ใช้บริการ แต่ในปัจจุบันมีเครือข่ายหลายแห่งที่เปิดบริการให้ผู้ใช้ภายนอกสามารถถ่ายโอนข้อมูล โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
4. การสืบค้นข้อมูล (Search Engine)
การสืบค้นข้อมูล คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ ปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้นเข้าไป โปรแกรมจะทําการค้นหา ข้อมูลที่ต้องการให้ แล้วแสดงผลลัพธ์ขึ้นมา โปรแกรมประเภทนี้เรียกว่า Search Engines เว็บไซต์ที่ ทําหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจํานวนมาก เช่น Google, Yahoo, Sanook เป็นต้น
5. การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต (Chat)
จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ ไมโครโฟนและลําโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา ปัจจุบันมีโปรแกรมมากมายให้เลือกใช้ เช่น Spe, Google Talk, Pattalk เป็นต้น ซึ่งผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดโปรแกรมเหล่านี้ แล้วทําการติดตั้งโปรแกรม โดยผู้ใช้งานต้องมี E-mail และทําการตั้งชื่อและรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งาน ปัจจุบันนอกจากจะติดต่อสื่อสาร ด้วยการพูดคุยด้วยเสียงแล้ว ยังสามารถเห็นหน้าตาผู้สนทนาได้อีก
6. กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net)
เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สําหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละ กลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่น การศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น
7. การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat)
เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจํานวนผู้ร่วมสนทนาอาจม หลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากําลังนั่งสนทนาอยู่ในห้อง เดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่ Window Live Messenger, Yahoo Messenger, IC เป็นต้น ปัจจุบันภายในเว็บไซต์ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย
8. สังคมออนไลน์ (Social Network)
สังคมออนไลน์ คือ สังคมที่จะช่วยให้คุณหาเพื่อนบนโลกอินเทอร์เน็ตได้ง่าย ๆ เราสามารถที่จะสร้าง พื้นที่ส่วนตัวขึ้นมาเพื่อแนะนําตัวเองได้ รวมทั้งทําการติดต่อสื่อสารกับเพื่อนได้หลายช่องทางทั้งการ Chat การแชร์รูป การแชร์วิดีโอ การนัดหมาย นอกจากนี้ยังสามารถทําธุรกิจบนสังคมออนไลน์ได้เช่นกัน ทั้งด้าน การตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ เป็นต้น โดยในปัจจุบันมีเว็บ SNS (Social Network Site) มากมาย เช่น Hi5, Friendster, My Space, Face Book, Google, Twitter เป็นต้น
การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต (Search Engine)
การสืบค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตในยุคปัจจุบันนี้ ได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตมากขึ้น เพราะแหล่งค้นหา ข้อมูลที่ใหญ่ที่สุด ก็คือ แหล่งข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตนั่นเอง โดยทั่วไปการค้นหาข้อมูล (Search Engine) แบ่งลักษณะรูปแบบการค้นหาเป็น 3 ลักษณะ คือ
1. Subject Directory
การค้นหาโดยการเลือกหมวดหมู่ข้อมูล Search Engine ประเภทนี้จะจัดแบ่งโดยการวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียดของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรแล้วทําการจัดหมวดหมู่เหมือนกับหลักการจัดหมวดหมู่ หนังสือในห้องสมุด ข้อดีของ Subject Directory คือ ช่วยให้ผู้ใช้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการ เนื่องจากน้ํา ข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นระบบ และสามารถกําหนดค้นได้ง่ายด้วยหัวข้อโดยเลือกจากรายการที่ทํา ไว้แล้ว เว็บไซต์ที่ให้บริการ ยกตัวอย่างเช่น WWWW.yahoo.com, www.lycos.Com, WWWWW.sanook.com เป็นต้น
2. Keyword Index
เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจวิธีการค้นหาของ Search Engine ประเภทนี้จะให้ความสําคัญกับการเรียงลําดับข้อมูลก่อนหลัง การค้นหาข้อมูลโดยวิธีการเช่นนี้จะมีความ รวดเร็วมาก แต่มีความละเอียดในการจัดแยกหมวดหมู่ของข้อมูลค่อนข้างน้อย เนื่องจากไม่ได้คํานึงถึง รายละเอียดของเนื้อหาเท่าที่ควร แต่ถ้าต้องการแนวทางด้านกว้างของข้อมูล การค้นหาแบบนี้จะเหมาะสม ที่สุด เว็บที่ให้บริการ Search Engine แบบ Keyword Index ยกตัวอย่างเช่น
Google (www.google.com)
เป็น Search Engine ที่เป็นที่นิยมอันดับหนึ่งของโลกในขณะนี้ จุดเด่นคือ มีการค้นหาที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เนื่องจาก (Google เป็นเว็บที่แสดงผลเป็น Hyper Text และมีส่วนของภาพน้อย ทําให้มี 2ามรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมาก
3. Metasearch Engines
จะเป็น earch Engine ที่ใช้ในการค้นหาเว็บด้วยตัวของ Search Engine แบบ Metasearch กeines เอง จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่น ๆ ด้วย โดยสังเกตได้จากจะมีคําว่า (Found on Google, Yahool) ต่อทางด้านท้าย หมายความว่า การค้นหา ข้อความนั้น ๆ มาเชื่อมโดยไปค้นข้อมูลจากเว็บ Google และ Yahoo แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสําคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษรและมักจะไม่ค้นหาคําประเภท Natural Language ภาษาพด) และที่สําคัญ Search Engine แบบ Metasearch Engines ส่วนมากไม่รองรับภาษาไทย
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail)
Electronic Mail หรือ E-กาail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สําคัญที่มีผู้นิยมใช้ บริการกันมากที่สุด สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึง กันได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องคํานึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้
E-mail Address เป็นข้อความสั้น ๆ ที่แสดงที่อยู่ของผู้รับจดหมาย ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
1. ชื่อของผู้รับจดหมาย ซึ่งมักจะพบว่าส่วนนี้เป็นชื่อของผู้รับจดหมาย หรือบางคนก็ใช้เป็นนามสกุล หรือบางคนก็ชอบใช้เป็นชื่อเล่นหรือชื่อย่อ
2. เครื่องหมาย @ หรือนิยมเรียกว่า แอ็ต เนื่องจากเสียงอ่านไปพ้องเสียงกับคําว่า at ซึ่งแปลว่า ที่เครื่องหมายนี้เช้กันระหว่างชื่อผู้รับจดหมายกับที่อยู่
3. โดเมนเนม (Domain Name) เป็นที่อยู่ของอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ที่ผู้ใช้สมัครเป็นสมาชิกอยู่ เพื่ออ้างถึงเมล์เซิร์ฟเวอร์ ประกอบด้วย ชื่อและนามสกุล คนด้วยเครื่องหมายจุด ตามตัวอย่างคือ hotmail.com
ประเภทของ E-mail
เว็บไซต์ที่ให้บริการฟรีอีเมล์มีอยู่มากมาย แต่ถ้าหากจะแยกประเภทของการใช้งาน สามารถแยก ออกได้เป็น 2 แบบ ดังนี้
1. POP Mail
เป็นระบบ E-mail ที่มีความสะดวกในการใช้งานอย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet อยู่ ตลอดเวลาในการอ่านอีเมล์และเขียนอีเมล์ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการใช้อีเมล์สําหรับผู้ใช้ที่ต้องการเช็ค เมล์อย่างรวดเร็ว สะดวก มีพื้นที่ในการเก็บ Mail ได้เป็นจํานวนมาก โดยไม่มีเมล์ขยะหรือโฆษณาปนมา กับเนื้อหาที่สําคัญ รวมทั้งสามารถใส่ไฟล์ขนาดใหญ่ได้ และ Download ไฟล์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งต้องใช้ โปรแกรมเฉพาะในการรับ-ส่ง Mail เช่น Outlook Express ของ Microsoft Office, Netscape หรือ Eudora
2. Web Mall
เป็น E-กาail แบบที่รู้จักกันดี เช่น hotmail.comา, yahoo.com, gmail.com เป็นต้น วิธีการใช้ งาน Aleb Mail สามารถขออีเมล์แอดเดรสจากโฮมเพจเหล่านั้นได้ และเมื่อต้องการใช้อีเมล์ก็กลับไปยัง โฮมเพจนั้น เพื่ออ่านและเขียนเมล์ (Compose Mail) ได้ง่าย ๆ การใช้อีเมล์ด้วยวิธีนี้ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม อะไรเพิ่ม เพราะเราทําทุกอย่างผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ ดังนั้น ถ้ามีโปรแกรม Internet Explorer, Firefox หรือ Toogle Chronาล ก็สามารถใช้งานได้ทันที การรับส่งอีเมล์โดยผ่านโปรแกรมบราวเซอร์นั้น ลําดับแรก จะต้องเข้าไปสมัครสมาชิกอีเมล์ที่ Website ที่ให้บริการ จากนั้นแล้วจึงเข้าไปใช้งาน ซึ่งต้องทําในโปรแกรม บราวเซอร์ทุกอย่างเหมือนกับการท่องเว็บธรรมดา สามารถรับส่งอีเมล์ได้ง่าย ๆ จึงสามารถใช้ Webmail ด้ทุกที่ที่มี คนไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทํางาน หรือ Internet Cafe ที่ใด ๆ ในโลก โดยไม่ต้องปรับแต่ง หรือติดตั้งอะไรลงในคอมพิวเตอร์เลย
ข้อดีของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย มากกว่าการติดต่อสื่อสารด้วยประเภทอื่น ๆ เนื่องจากสามารถ รับหรือส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
- สามารถส่งข้อมูลได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ข้อมูลตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
- ไม่จํากัดเวลา ระยะทาง หรือสถานที่ในการติดต่อสื่อสาร ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์ในเวลาและสถานที่ใดก็ได้ แค่ผู้ใช้มีคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
สามารถส่งเมล์ไปหาผู้รับได้หลายคนพร้อม ๆ กัน ในกรณีที่ข้อมูลที่ต้องการส่งเป็นข้อมูล เดียวกัน เช่น ข้อมูลแจ้งกําหนดการประชุม กฎระเบียบในการใช้ห้องคอมพิวเตอร์ ผู้ส่งสามารถส่งข้อมูลได้ ดีละหลายๆ คนในครั้งเดียว ไม่จําเป็นต้องส่งข้อมูลไปทีละคน
- ข้อมูลที่ได้มีความเป็นส่วนตัว เนื่องจากผู้ใช้จะมีรหัสส่วนตัวในการใช้บริการไปรษณีย์ อิเล็กทรอนิกส์
- ผู้รับสามารถนําข้อมูลที่ได้มาแก้ไขหรือนําข้อมูลนั้นไปใช้ต่อได้ ไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลนั้นใหม่ โดยข้อมูลที่ได้รับทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถนํามาจัดทําในรูปแบบเอกสารสิ่งพิมพ์
- มีการแจ้งรายละเอียดและบันทึกข้อมูลได้ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น จํานวนข้อมูล ทั้งหมด ข้อมูลใดที่เปิดใช้งานแล้วหรือยัง ไม่ได้เปิดใช้งาน ใครเป็นผู้ส่ง และส่งข้อมูลมาในเวลาใด
ข้อจํากัดของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
- ผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ เช่น การใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์ การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ของเว็บไซต์ที่สมัครเป็นสมาชิก เป็นต้น
- ผู้ใช้ต้องมีอีเมล์แอดเดรส จึงจะสามารถใช้งานไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้
- เครื่องคอมพิวเตอร์เสี่ยงกับการติดไวรัส เนื่องจากไวรัสคอมพิวเตอร์จะมากับจดหมายหรือ ข้อมูลที่ส่งมาก เมื่อผู้ใช้เปิดอ่านจดหมายนั้นก็จะทําให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ติดไวรัสคอมพิวเตอร์ได้
- ขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลที่ส่งผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถรับ และส่งได้จากทุกคนทั่วโลก ข้อมูลที่ได้รับจึงไม่น่าเชื่อถือเท่าที่ควร
- ไม่มีความแน่นอน ซึ่งขึ้นอยู่กับเมล์เซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการ หากเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นเกิดชํารุด เสียหาย หรือปิดให้บริการ ข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในเมล์เซิร์ฟเวอร์นั้นก็จะหายไปด้วย
- มีข้อจํากัดในการรับและส่งข้อมูล ซึ่งแล้วแต่ข้อตกลงระหว่างผู้ใช้และเมล์เซิร์ฟเวอร์ เช่น ปริมาณหรือจํานวนของข้อมูลที่สามารถเก็บไว้ในเมล์เซิร์ฟเวอร์ ระยะเวลาในการให้บริการในกรณีที่ผู้ใช้ ขาดการติดต่อกับเมล์เซิร์ฟเวอร์ เป็นต้น
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser)
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ (Web Browser) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า บราวเซอร์ (Browser) เป็นโปรแกรม ที่ทําหน้าที่ดึงข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์เพื่อมาแสดงบนจอภาพแก่ผู้ใช้ และสามารถเชื่อมโยงไปยังลิงค์ต่าง ๆ ที่ กําหนดไว้ ซึ่งทําให้สามารถค้นหาข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว นอกจากนี้ เว็บบราวเซอร์ยังสามารถใช้เชื่อมต่อเข้ากับแหล่งข้อมูลที่ให้บริการประเภทอื่น ๆ ในอินเทอร์เน็ตได้ด้วย เช่น Telnet, Gopher, Usenet News, FTP เป็นต้น
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์จะทํางานโดยดึงข้อมูลซึ่งจัดเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า HTML (Hyper Text Markup Language) มาจากเว็บเซิร์ฟเวอร์และแปลความหมายของรูปแบบข้อมูลที่ได้กําหนดเอาไว้ เพื่อนําเสนอแก่ผู้ใช้สําหรับข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของ HTML นั้นจะมีการแบ่งเป็นหน้า ๆ เหมือนกับหน้า ในเอกสารปกติ ซึ่งแต่ละหน้านั้นจะเรียกว่า “เว็บเพจ” (Web Page) เว็บเซิร์ฟเวอร์หรือเว็บไซต์ ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่เก็บรวบรวมเว็บเพจในเนื้อหาต่าง ๆ เอาไว้ ผู้ใช้ก็สามารถใช้เว็บบราวเซอร์ร้อง ขอเพื่อเรียกค้นข้อมูลมาแสดงได้
ตัวอย่างเว็บบราวเซอร์
Microsoft Internet Explorer (IE)
Microsoft Internet Explorer หรือที่เรียกกันว่า IE เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่เป็นที่นิยม และรู้จักกันดีในสังคมอินเทอร์เน็ต ผลิตโดยบริษัท MMicrosoft และในตอนนี้ทางบริษัท Microsoft ก็ได้ พัฒนาปรับปรุงจนมี Internet Explorer รุ่นต่อ ๆ ไป โดยผู้ที่ต้องการใช้งานสามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.microsoft.com
Google Chrome
(1oogle Chrome เป็นเว็บบราวเซอร์ที่สร้างโดย Google มีจุดเด่นในเรื่องการเรียกใช้หน้าเว็บเพจ และแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็ว อีกทั้งหน้าต่างบราวเซอร์ยังมีขนาดที่เหมาะสม และเรียบง่าย Chrome ยังมีคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อประสิทธิภาพและความง่ายในการใช้งาน ตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ สามารถค้นหาโดยพิมพ์คําที่ต้องการค้นหา ได้ที่ Address Bar ได้เลย และสามารถจัดเรียงแท็บได้อย่าง รวดเร็วและง่ายดาย เพียงแค่คลิกแล้วลากแท็บไปไว้ในตําแหน่งที่ต้องการ หน้าต่างดาวน์โหลดไฟล์จะ ปรากฏอยู่ด้านล่างของหน้าเว็บบราวเซอร์ทําให้ไม่เกะกะเวลาใช้งาน เป็นต้น ส่วนในเรื่องของความ ปลอดภัย 100gle Chronme ถูกออกแบบให้มีการป้องกันมัลแวร์และฟิชชิงในตัว พร้อมการอัปเดตอัตโนมัติ ทําให้ผู้ใช้มั่นใจในความปลอดภัยในท่องเว็บ นอกจากนี้ ยังมีคุณลักษณะอื่น ๆ เช่น การแปลภาษาในหน้า เว็บบราวเซอร์ เป็นต้น
มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
1. หากต้องการเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์ หรือเครือข่ายใด ต้องศึกษาข้อกําหนด กฎเกณฑ์ในการใช้ งานให้ละเอียดถี่ถ้วน
2 ไม่ใช้ถ้อยคําหยาบคาย หรือข้อความที่เป็นการคุกคามผู้อื่น 3 เคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่น ไม่อ่านอีเมล์ของผู้อื่น เป็นต้น
4. ไม่ใช้เครือข่ายของสถานศึกษาเพื่อจุดประสงค์ทางการค้า 5. ไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
อนาคตของระบบอินเทอร์เน็ต
จากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอินเทอร์เน็ตและประโยชน์มหาศาลของบริการต่าง ๆ ที่มีอยู่ทําให้ อินเทอร์เน็ตมีความสําคัญอย่างยิ่งในการปฏิวัติสังคมยุคข้อมูลข่าวสารในอนาคตผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ไม่เป็น และไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตจะเปรียบเสมือนกับคนที่อ่านหนังสือไม่ออก หรือถูกโดดเดี่ยวจาก ข้อมลข่าวสารและสื่อสารติดต่อกับผู้อื่นได้ไม่ทันเหตุการณ์ เหมือนกับบริษัทต่าง ๆ ในทุกวันนี้จะต้องมี
เครื่องโทรสารเอเช้ติดต่อธุรกิจกับผู้อื่น ซึ่งถ้าหากว่าบริษัทใดไม่มีเครื่องโทรสารไว้ใช้ก็คงลําบากไม่น้อย แต่ อินเทอร์เน็ตจะมีผลกระทบที่กว้างกว่า คือ มีผลถึงในระดับแต่ละบุคคลไม่ใช่แค่ระดับองค์กรหรือบริษัท ดังนั้น จึงพอที่จะคาดหมายได้ว่าการขยายตัวของอินเทอร์เน็ตจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและทวีคณต่อไปอีกนาน หลายปี เพราะขณะนี้ถือได้ว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น
เพื่อให้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตสามารถรองรับการขยายตัวดังกล่าว ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกได้มีการ เตรียมพร้อม เดยพัฒนาระบบการสื่อสารภายในประเทศและภายนอกประเทศให้มีความเร็วในการรับ-ส่ง ข้อมูลมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป ออสเตรเลีย และเอเชีย
เมื่อการพัฒนาความเร็วในการรับส่งข้อมูลให้สูงขึ้นแล้ว การรับส่งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ผ่านอินเทอร์เน็ต ก็จะรวดเร็วยิ่งขึ้นจนมีคุณสมบัติแบบมัลติมีเดียอย่างแท้จริง คือ สามารถรับข้อมูลมาแสดง ผลบนจอภาพได้อย่างทันทีทันใด บริการในเครือข่ายของอินเทอร์เน็ตก็จะมีมากขึ้นและใช้ประโยชน์จาก - การรับส่งข้อมูลภาพและเสียงอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา การค้นหาข้อมูล การประชุมทางไกล การ ซื้อขายสินค้า จนถึงความบันเทิงและเกมส์ต่าง ๆ
เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเข้ากับอินเทอร์เน็ตที่ปัจจุบันต่อผ่านโมเด็มทางสายโทรศัพท์ มี ความเร็วสูงสุดขณะนี้ 56,600 บิตต่อวินาที ก็จะได้รับการพัฒนาให้เร็วขึ้น ซึ่งจะแบ่งออกเป็นสองทาง คือ ทางแรกโมเด็มจะถูกพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้น โดยยังคงรับส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ตามเดิม เพื่อให้ทุก ๆ คนสามารถติดต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ง่ายที่สุด สะดวกที่สุด และมีราคาถูกที่สุด ขอเพียงให้มีบริการโทรศัพท์ ไปถึงก็สามารถติดต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้ ส่วนทางที่สอง คือ ใช้สายส่งข้อมูลอย่างอื่นที่ไม่ใช้โทรศัพท์ใน การเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต ซึ่งอาจจะเป็นบริการ SDN (Integrated Service Digital Network) ที่ มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลตั้งแต่ 60,000 บิตต่อวินาที จนถึง 2 ล้านบิตต่อวินาที หรืออาจเป็นสายรับ-ส่ง ข้อมูลความเร็วสูง ต่อตรงจากบ้านไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการผ่านอินเทอร์เน็ตได้ คอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลก็จะเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วไม่ต่ํากว่า 2 ล้านบิตต่อวินาที ซึ่งในอนาคตอันใกล้นี้ คงจะเริ่มต้นใช้กันในเขตธุรกิจหรือเมืองใหญ่ ๆ ก่อนแล้วค่อยขยายบริการออกไป
อินเทอร์เน็ตจะขยายตัวเข้าไปในทุกหนทุกแห่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งตามบ้านด้วย เพราะ ไม่ใช่ประเทศสหรัฐอเมริกาประเทศเดียวเท่านั้นที่มีโครงการขยายเครือข่ายการสื่อสารในประเทศของตน เพื่อรับการขยายตัวของอินเทอร์เน็ต ประเทศอื่น ๆ ก็มีโครงการในลักษณะดังกล่าวด้วยเช่นกัน ผู้ให้บริการ โทรศัพท์หรือบริการสื่อสารจะต้องพร้อมที่จะให้บริการสื่อสารข้อมูลความเร็วสูงแก่ลูกค้า เพื่อที่จะเชื่อมต่อ เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือตามบริษัทเข้ากับเครือข่ายของอินเทอร์เน็ต แม้ว่าในปัจจุบันบริการดังกล่าว ยังคงมีราคาแพงอยู่ แต่ในอนาคตเมื่อมีผู้ใช้มากขึ้นราคาก็จะลดลงจนถึงขั้นที่สายรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่ต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตจะมาพร้อมบริการโทรศัพท์ด้วยราคาที่ถูกพอ ๆ กับค่าโทรศัพท์ในปัจจุบัน การใช้ งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตคงไม่แตกต่างจากการใช้โทรสารติดต่อรับส่งเอกสารกันอย่างเช่นทุกวันนี้เท่าใด นัก เพียงแต่จะใช้ง่ายกว่า รวดเร็วกว่า และสามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร ภาพและเสียงผ่านเครื่อง คอมพิวเตอร์แทนเท่านั้นเอง
มุมมืดบนระบบอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มากมายเพียงใดก็ตาม แต่อินเทอร์เน็ตเองก็มีข้อเสียที่ต้องพึ่ง ระวังอยู่เหมือนกัน เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ในวงกว้าง แต่เสียค่าใช้จ่ายน้อย ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นคุณประโยชน์หรือเรื่องโฆษณาชวนเชื่อ โจมตีให้ร้ายกันเป็นเรื่องที่อาจเป็นปกติในสังคมหนึ่ง แต่เป็นเรื่องที่ขัดกับศีลธรรมของอีกสังคมหนึ่ง ซึ่ง เป็นเรื่องที่อาจจะเกิดขึ้นได้บนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตจึงถือเป็นดาบสองคมที่ผู้ใช้ควรจะ มีวิจารณญาณในการใช้ด้วย
การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่าย (Network) ที่เชื่อมโยงเครือข่ายมากมายหลากหลาย เครือข่ายเข้าด้วยกัน คําว่า “เครือข่าย” มีความหมายรวมถึงการมีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อ เข้าด้วยกันทางสายเคเบิลหรือสายโทรศัพท์ นอกจากนี้ยังต้องมีผู้ใช้คอมพิวเตอร์และมีการถ่ายเทข้อมูล ระหว่างกัน
สําหรับการใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยนั้น เริ่มต้นใช้งานในภาครัฐโดยมีมหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์เป็นจุดแรก จากนั้นกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานได้มอบหมายให้ผู้คน เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) จัดสรรเงินทุนงบประมาณเพื่อวิจัยการ พัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศเข้าด้วยกัน สําหรับเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในเชิงพาณิชย์นั้น เมื่อการสื่อสารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติให้บริษัท KSC เป็นผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตหรือ ISP รายแรกของประเทศ ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลทั่วไป ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล จากนั้นก็ได้มี ISP เกิดขึ้นตามมาอีกหลายบริษัท เพื่อให้บริการในเชิงพาณิชย์ เช่น ศูนย์บริการ อินเทอร์เน็ตประเทศไทย Loxinfo, Samart, Sanook เป็นต้น
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมีปัจจัยในระบบที่ควรศึกษา ดังนี้
1. TCPIP : ภาษาสื่อสารหลักในอินเทอร์เน็ต การที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบ จะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้นจําเป็นต้องมีภาษาสื่อสาร ที่เรียกว่า โพรโตคอล (Protocol) เช่นเดียวกับที่ มนุษย์ต้องมีภาษาพูดเพื่อการสื่อสารให้เข้าใจกัน ภาษาสื่อสารในคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายแตกต่างกันตาม ระบบที่ใช้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในระบบจะต้องใช้ภาษาสื่อสารเดียวกันจึงจะติดต่อสื่อสาร กันได้ แต่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะใช้ภาษาสื่อสารมาตรฐานที่ชื่อว่า ที่ซีพีไอพี (TCPIP Transmission
ontrol Protocol Internet Protocol) เป็นภาษาหลัก ดังนั้น หากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดมี TCD/D อยก็สามารถเชื่อมโยงเข้าสู่อินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง PC, MAC เครื่องระดับมินิคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องเมนเฟรม
2. หลักการทํางานของ TCPIP TCPIP จะทําการแบ่งข้อมูลที่ส่งผ่านออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็กเกจ Package) โดยแต่ละส่วนจะถูกเพิ่มข้อมูลบอกตําแหน่งต้นทางและปลายทางที่จะส่งไว้ให้ จากนั้น แพกเกจเหล่านี้จะถูกส่งกระจายผ่านไปยังเส้นทางต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันในระบบตามเส้นทางที่สามารถถึงที่ ปลายทางได้ โดยแต่ละแพ็กเกจไม่จําเป็นต้องเรียงลําดับหรือไปตามเส้นทางเดียวกัน โดยมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า เราท์เตอร์ (Rounter) จะเป็นตัวที่คอยจัดหาเส้นทางที่ดีที่สุดให้กับทุกแพ็กเกจ ดังนั้น หากเส้นทางใดเสียหาย เราท์เตอร์ก็จะทําการเปลี่ยนเส้นทางใหม่ให้ทันที และถ้าหากเกิดความเสียหายขึ้นกับแพ็กเกจใด ๆ ในขณะ ที่ส่งเราท์เตอร์ก็จะแจ้งกลับไปยังต้นทางเพื่อให้ส่งแพ็กเกจตัวนั้นกลับมาใหม่ เมื่อแพ็กเกจเหล่านั้นมาถึง ปลายทางจะถูกรวบรวมกลับมาเป็นข้อมูลขึ้นเดิมที่สมบูรณ์อีกครั้ง
3. SLIP/ppp ช่วยสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์ การส่งข้อมูลในระบบอินเทอร์เน็ตนั้นจําเป็นต้อง ส่งผ่านทั้งในระบบสายสัญญาณ 6 สายในระบบแลน และระบบสายโทรศัพท์ประกอบกัน ดังนั้น เพื่อให้ การสื่อสารเป็นไปอย่างราบรื่น จึงต้องมีโพรโตคอลซึ่งทํางานบน TCPIP เพิ่มขึ้นอีก 2 ตัว คือ ppp
3.1โพรโตคอล SLIP Serial Line Internet Protocol) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ TCP/Ip สามารถสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์ เพื่อส่งผ่านข้อมูลระหว่างระบบแลน (LAN) กับระบบแวน (WAN) ได้ ซึ่ง ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในระบบ UNIX ได้นําโพรโตคอลนี้ติดตั้งไว้เป็นส่วนหนึ่งของ ระบบเลย นั่นหมายความว่าทุกเครื่องที่ใช้ระบบ UNIX จะมีโพรโตคอล SLIP อยู่ในตัวและสามารถใช้งาน ได้ทันที
3.2 PPP (Point-to-Point Protocol) เนื่องจากโพรโตคอล SLIP เกิดมีปัญหาไม่เข้ากันกับ โพรโตคอลบางตัวในระบบแลนที่ใช้อยู่เดิม จึงได้มีการพัฒนาโพรโตคอลขึ้นมาใหม่ในชื่อ PPP เพื่อให้สามารถ ด้ร่วมกับโพรโตคอลอื่นได้เป็นอย่างดี และยังได้เพิ่มระบบการตรวจสอบข้อมูล การรักษาความปลอดภัย และการบีบอัดข้อมูล ซึ่งทํางานได้ดีกว่า SLIP และคาดว่าจะถูกนํามาใช้เป็นมาตรฐานต่อไป
3.3 หมายเลขอินเทอร์เน็ต (Internet Nนกาber) หรือหมายเลขไอพี (IP Nนทาber) เป็นเลขรหัส ประจําตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเลขรหัสที่ไม่ซ้ํากัน หมายเลข อินเทอร์เน็ตาประกอบด้วยเลยทั้งหมด 4 จํานวน แต่ละจํานวนจะมีตัวเลขตั้งแต่ 0-255 แต่ละจํานวนจะถูก กันด้วยเครื่องหมายจุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเวิลด์ไวด์เว็บของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ มีหมายเลขอินเทอร์เน็ต หรือหมายเลขไอพี คือ 202.551.181.51
3.4 ชื่ออินเทอร์เน็ต เนื่องจากหมายเลขประจําตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบ อินเทอร์เน็ตนั้นเป็นตัวเลขที่จดจําได้ยาก ทําให้การอ้างถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบอินเทอร์เน็ตไม่สะดวก ตอน ดังนั้น จึงมีระบบชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์มาตรฐานในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเรียกว่า “DNS”
วกกain flamme Server) หรือระบบชื่อโดเมนขึ้นมาเพื่อให้ความสะดวกต่อผู้ใช้ โดยที่“DNS” จะทําการ ปลงจากชื่อเป็นหมายเลขอินเทอร์เน็ตนั้นเอง เช่น
WWWW.WansakSorns.Com >>>>> DNS >>>>> 202 551.181.51
การเชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต
การนําระบบเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ตจะทําได้ 2 ลักษณะ คือ
1. การเชื่อมต่อโดยตรง เป็นการนําระบบเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก (Back Bone) ของ อินเทอร์เนัด โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกทเวย์ (Gate Way) หรือเราท์เตอร์ (IP Rounter) ร่วมกับสาย สัญญาณความเร็วสูง โดยผู้ใช้จะต้องติดต่อโดยตรงกับ InternetNIC เพื่อขอซื้อโดเมนและติดตั้งเกทเวย์เข้า กับสาย หลักการเชื่อมต่อแบบนี้สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงเหมาะสําหรับองค์กรที่ ต้องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในระบบตลอด 24 ชั่วโมง แต่ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะแพงมาก รวมทั้งค่าใช้จ่ายทางด้านอุปกรณ์และการบํารุงรักษาด้วย
2. การเชื่อมต่อผ่านผู้ให้บริการ (Internet Service Provider) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ไอเอสพี (SP) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทําการติดตั้งและดูแลเครื่องให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาต ให้ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนําระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ ระบบอินเทอร์เน็ต
ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านทาง ISP สามารถแบ่งลักษณะการเชื่อมออกได้เป็น 2 ประเภท ตามความต้องการใช้งานของสมาชิก ดังนี้
2.1 การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Corporate User Services) เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบ เครือข่ายเช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จึงสามารถนําเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายภายในเข้าเชื่อมต่อ กับ ISP เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต
2.2 การเชื่อมต่อส่วนบุคคล (Individual User Services) บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถของ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านสายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ที่ เรียกว่า โมเด็ม (Moderา) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก การเชื่อมต่อแบบนี้เรียกว่า การเชื่อมต่อแบบ Ca 2 ซึ่งผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP Account
อี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce)
อี-คอมเมิร์ซ หรืออิเล็กทรอนิกส์คอมเมิร์ซ คือ การทําธุรกิจการซื้อขายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการสร้างเว็บไซต์หรือหน้าร้านบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ขึ้น เพื่อประโยชน์หลายอย่างแล้วแต่จุดประสงค์ ของผู้สร้างเว็บไซต์ เช่น ใช้เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารใช้เป็นแหล่งโฆษณาสินค้า ใช้เป็นเครื่องมือในการให้ความบันเทิงแก่ผู้ชม ใช้เป็นสถานที่ซื้อขายสินค้าและบริการ ใช้เป็นสถานที่ประมูลราคาสินค้าให้ บริการข้อมูลความรู้ ดูหนัง ฟังเพลง ฯลฯ หรืออาจจะเปิดให้บริการทุกอย่างตามที่กล่าวมาแล้วก็ได้ โดยไม่ มีขอบเขตจํากัด
- วิธีการสร้างเว็บไซต์นั้นจะต้องใช้ภาษาเอชทีเอ็มแอล (HTIML Hyper Text Markup Language ซึ่งเป็นภาษาที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สร้างเอกสารประเภทไฮเปอร์เท็กซ์ (Hyper Text) ขึ้นมาแล้วนํามาบรรจุ ไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยผู้ที่ต้องการข้อมูลไปเผยแพร่ใน คอมพิวเตอร์จะต้องขอจดทะเบียนชื่อจากผู้ควบคุมเครือข่าย เรียกว่า โดเมนเนม (Domain Nanme) ซื้อ โดเมนเนมจะต้องมีรูปแบบตามที่กําหนดไว้ตามข้อตกลงในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และต้องเป็นชื่อที่ไม่ซ้ํา กับคนอื่นที่มีอยู่แล้ว การจดทะเบียนชื่อดังกล่าวต้องเสียเงินครั้งแรก เมื่อจดทะเบียนและเสียค่าดูแลเป็น ราย เนื่องจากผู้ควบคุมระบบจาเป็นต้องมฐานข้อมูลชื่อเพื่อตรวจสอบได้ก่อนขอจดทะเบียน เมือจดทะเบียน แล้วผู้ควบคุมกินชื่อนั้นบรรจุเข้าไปในฐานข้อมูล และผู้ควบคุมต้องเอารหัสชื่อของเครื่องที่ผู้เผยแพร่บรรจุ เอกสารไว้ส่งกระจายไปทั่วเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเรียกดูได้ (โดยใช้คําสั่ง HTTP) โดยการส่งคําสั่งมาถึงเครื่องที่บรรจุเอกสารนั้นได้ เครื่องนั้นก็จะส่งเอกสารดังกล่าวไปจนถึงผู้เรียกดูเอกสาร เอชทีเอ็มแอลที่เขียนขึ้นมา อาจมีเพียงชิ้นเดียวหรือหลายชินก็ได้ เอกสารชิ้นแรกที่ถูกส่งออกไป เรียกว่า โฮมเพจ (Home Page) ส่วนซินอื่น ๆ นั้นจะเรียกว่า เว็บเพจทั้งหมด ไม่มีลําดับที่ เพราะจากโฮมเพจนั้น ผู้ใช้จะใส่ตัวเชื่อมโยง (Hyper Link) ไปสู่เว็บเพจไหนก็ได้ และในเว็บเพจอื่น ๆ ก็สามารถใส่ตัวเชื่อมโยงไป ยังเว็บเพจอื่นก็ได้เช่นกัน
เครื่องที่จัดเก็บเอกสารเอชทีเอ็มแอลไว้ เรียกว่า โฮลต์ (Host) และอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ (Internet Server) ที่เป็นเจ้าเอกสารเอชทีเอ็มแอลที่ส่งไปให้ เรียกว่า เว็บเพจ (Web Page) และโดเมนเนม เรียกว่า เว็บไซต์ (Web Site)
วิธีการเรียกเก็บเงินจากผู้ซื้อของเจ้าของเว็บไซต์ สามารถทําได้หลายวิธี เช่น ให้ผู้ซื้อส่งเป็นธนาณัติ หรือเช็คมาให้ หรือชําระเงินกับพนักงานเพื่อส่งสินค้าไปให้ แต่ปัจจุบัน มีวิธีการหักเงินในบัญชีบัตรเครดิต ซึ่งทําได้โดยให้ผู้ซื้อกรอกความต้องการที่จะซื้อสินค้าแล้วให้คลิกที่ ช่องจ่ายเงินด้วยบัตรเครดิต เว็บไซต์จะ ส่งแบบฟอร์มขึ้นมาให้ที่หน้าจอ ให้ผู้ซื้อกรอกหมายเลขบัตรเครดิตแล้วคลิกที่คําว่าตกลง เบราเซอร์ของ เว็บไซต์จะไปเรียกโปรแกรมเพื่อเข้ารหัสบัตรเครดิตพร้อมทั้งวัน เวลา หมายเลขการสั่งซื้อ ชื่อบริษัทผู้รับเงิน - หมายเลขบัญชีของผู้รับเงิน แล้วส่งรายการหักเงินดังกล่าวนั้นไปยังธนาคารที่ผู้ซื้อเปิดบัญชีบัตรเครดิตไว้ โดยตรง ในขณะเดียวกันก็จะส่งคําสั่งซื้อไปยังเว็บไซต์หรือหน่วยจัดส่งสินค้าของเจ้าของเว็บไซต์ทันที ขบวนการดังกล่าวทั้งหมดสามารถทําเสร็จในเวลาเพียง 23 วินาทีเท่านั้น ถ้าสินค้าที่ผู้ซื้อสั่งซื้อนั้นมีราคา แพง ผู้จําหน่ายผ่านเว็บไซต์อาจจะต้องเช็คเสียก่อนว่าการหักเงินเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงทําการจัดส่งสินค้า ไปให้ แต่ผู้จําหน่ายผ่านเว็บไซต์บางรายอาจจัดส่งสินค้าไปให้เลย วิธีการทั้งหมดนี้เป็นอี-คอมเมิร์ซแบบ อัตโนมัติ ซึ่งทําได้เพราะในภาษาเอชทีเอ็มแอลนั้นการเชื่อมโยง (Hyper Link) สามารถเรียกดูเว็บเพจและ เรียกโปรแกรมขึ้นมาทํางานได้ทันทีด้วย
จุดเด่นของการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการค้า
1. ผู้จําหน่ายสินค้าไม่จําเป็นต้องมีร้านค้าจริง ไม่ต้องนําสินค้าจริงออกมาแสดงเพียงแต่ให้ข้อมูล ข่าวสารการเสนอขายสินค้าเท่านั้น
2. สามารถทํางานได้อย่างรวดเร็ว ผู้ขายไม่จําเป็นต้องมีพนักงานต้อนรับ ไม่ต้องอธิบายหรือชี้แจง รายละเอียดของสินค้าแต่อย่างไร เนื่องจากทุกอย่างลูกค้าสามารถจัดการด้วยตนเองได้ การขอข้อมูล การสั่งซื้อและการชําระซึ่งจะถูกส่งไปมาด้วยความเร็วสูงเพียง 2-3 วินาทีเท่านั้น
3. ลดค่าใช้จ่ายทั้งฝ่ายผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผู้ซื้อไม่ต้องแต่งตัวและเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางออก จากบ้านไปยังร้านของผู้ขาย ส่วนผู้ขายก็ไม่ต้องเสียค่าเช่าร้าน เงินเดือนพนักงานขายหน้าร้าน ไม่ต้อง เก็บสต็อกสินค้าจํานวนมาก ไม่ต้องเสียเวลาเอาเช็คหรือเงินสดไปเข้าธนาคาร และผู้ขายไม่จําเป็นต้องเป็น ผู้ผลิตสินค้าโดยตรง เพราะสามารถใช้วิธีส่งคําสั่งซื้อต่อไปยังผู้ผลิตได้โดยตรง และใช้บริการการขนส่งของ บริษัทขนส่งที่เชี่ยวชาญได้
4. อี-คอมเมิร์ชเริ่มใช้กันมากว่าสิบปีแล้ว จนทําให้มีผู้ประสบความสําเร็จในธุรกิจด้วยระบบ อี-คอมเมิร์ชจํานวนมากพอสมควร สินค้าและบริการที่สั่งซื้อผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีผู้ประเมินว่ายอดซื้อขายผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันสูงถึง 20% ของการซื้อขายปกติ และอาจจะ สูงถึง 60% ในอีก 5-6 ปีข้างหน้า
อี-เลินนิ่ง (E-Learning)
ภาษาเอชทีเอ็มแอล (Hyper Text Markup Language) นั้น เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สร้างเอกสาร เนื้อหาแบบมัลติมีเดีย (Multi Media) ได้ คือ แสดงเป็นภาพ เป็นตัวหนังสือขนาดต่าง ๆ ตัวอักษรที่ต่าง แสดงภาพกราฟิกต่าง ๆ แสดงภาพถ่ายสี แสดงภาพกราฟิกเคลื่อนไหว (การ์ตูน) แสดงภาพถ่ายเคดอน (วิดีโอ) หรือใช้เสียงเพลงได้ ฯลฯ ทําให้เอกสารเหล่านั้นน่าสนใจมากกว่าภาพหรือข้อความธรรมดาที่รับส่ง เป็นอย่างมาก
การเรียกดูเอกสารเอชทีเอ็มแอลนี้ ไม่จําเป็นต้องผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ได้ เพราะสามาร บรรจุอยู่ในดิสก์เก็ตต์หรือซีดี แล้วส่งไปให้ผู้ใช้ได้เลย เช่น ผู้สอนทําแบบเรียนใส่แผ่นซีดีแล้วส่งไปที่โรงเรียน ต่าง ๆ ใช้สอนเด็กนักเรียนได้เลย ผู้ใช้เพียงแต่เอาแผ่นดิสก์เก็ตต์หรือซีดีใส่เข้าเครื่อง แล้วเรียกเบราเซอ ออกมาทํางานในโหมดออฟไลน์ (Off-Line) วิธีนี้ผู้ใช้งานไม่ต้องเสียค่าอินเทอร์เน็ตและไม่เป็นต้องมีหมายเลข ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตสื่อการเรียนการสอนก็ไม่ต้องเสียเงินจดทะเบียนโดเมนเนม ไม่ต้องทําเป็นเว็บไซต์ ยิ่งไปกว่านั้น การทําไฮเปอร์ลิงก์และการเรียกโปรแกรมอื่นๆ ขึ้นมาทํางาน ก็สามารถทําให้บทเรียนเหล่านี้ ทํางานแบบโต้ตอบ (Interactive) ได้ด้วย
นอกจากจะใช้แผ่นดังกล่าวสําหรับการสอนบนเครื่องพีซีแล้ว ยังสามารถจัดทําเป็นเครือข่ายภายใน โรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย โดยเก็บบทเรียนเหล่านี้ไว้ในเครื่องที่ศูนย์กลางเพียงอย่างเดียว แล้วให้นักเรียน เรียกใช้จากเครื่องพีซีหรือไมโครคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องลูกข่ายของระบบเครือข่ายภายในสถาบันได้ เรียกว่า อินทราเน็ต ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ทํางานคล้ายอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ต้องจดทะเบียนเป็นเว็บเซอร์ฟเวอร์ นักเรียนหรือนักศึกษาก็ไม่ต้องเป็นสมาชิกของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต วิธีนี้ลงทุนไม่มาก ไม่ต้องเสียค่าเวลา การใช้เครือข่าย ระบบจะทํางานได้เร็วและสะดวกในการปรับแก้บทเรียน เพราะเครื่องแม่จะทําหน้าที่เป็น ศูนย์กลางเก็บเอกสารเอชทีเอ็มแอลที่เป็นบทเรียนเหล่านั้นเพียงแห่งเดียว
การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอนนั้น มีนักวิชาการด้านการศึกษาเสนอแนวทาง การดําเนินการไว้หลายรูปแบบ เช่น จัดทําเป็นวิดีโอแล้วเก็บไว้ที่ศูนย์กลาง จากศูนย์กลางให้ทําเครือข่าย ไปสู่ห้องเรียนตามวิทยาเขตต่าง ๆ รวมถึงต่อเครือข่ายไปที่หอพักนักศึกษา ส่วนอาจารย์ก็สามารถใช้ห้องเรียน เพื่อสอนนักศึกษาเป็นกลุ่มหรือเป็นชั้นเรียนได้ โดยสั่งจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องเรียนไปสู่ศูนย์กลางเพื่อ เรียกวิดีโอที่เป็นบทเรียนออกมา เครื่องที่เป็นศูนย์กลางจะส่งบทเรียนนั้นมาบรรจุลงในจานแม่เหล็กของ เครื่องในห้องเรียน แล้วนําออกแสดงบนจอขนาดใหญ่โดยฉายผ่านเครื่องแอลซีดีโปรเจ็กเตอร์ได้ สําหรับ นักศึกษาเมื่อกลับไปที่หอพักก็สามารถใช้เครื่องพีซีเข้าไปดึงเอาบทเรียนนั้นออกมาดูซ้ํา หรือเรียกการบ้าน ออกมาทําได้ บริการแบบนี้เรียกว่า วิดีโอออนดีมานด์ (VDO on Demand)
นอกจากจะจัดทําเป็นวิดีโอชนิดที่สือทางเดียวแล้วยังสามารถจัดทําเป็นบทเรียนชนิดโต้ตอบหรือ เป็นสื่อสองทางได้ด้วย บทเรียนเหล่านี้เป็นโปรแกรมที่เก็บรูปภาพและบทเรียนเอาไว้ ผู้ใช้สามารถตอบ คําถามต่าง ๆ ถ้าตอบผิดโปรแกรมสามารถย้อนกลับไปอธิบายใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม ระบบวิดีโอออนดีมานด์นี้ มีค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะต้องใช้สายสื่อสารที่มีความเร็วสูง ระดับ 100 ล้านบิตต่อวินาทีขึ้นไป ถ้าวิทยาเขต ต่าง ๆ กระจายตัวอยู่ห่างกันมาก ค่าสายสื่อสารก็จะสูงมาก
สํานักงานไร้กระดาษ (Paperless Office)
สํานักงานไร้กระดาษเป็นความฝันในการจัดระบบสํานักงานอัตโนมัติที่มีความเป็นไปได้ เพราะ เครื่องมือและอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มีราคาถูกลงมาก ไม่ว่าจะเป็นจานแม่เหล็กที่ใช้เก็บข้อมอ เครื่องสแกนเนอร์ เครื่องอ่านและเขียนซีดี เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งชุด รวมทั้งมีโปรแกรมช่วยบีบอัดไฟล์ข้อมอ ต่าง ๆ ให้เล็กลงได้มาก ทําให้สํานักงานต่าง ๆ สามารถนําเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ ทําให้มีการใช้เอกสาร ดิจิตอลแทนเอกสารกระดาษ ซึ่งหากมีการกําจัดเอกสารให้หมดไปหรือให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จําเป็นสาหรับ สํานักงาน ย่อมทําให้สามารถประหยัดค่ากระดาษ ค่าปากกา หมึกพิมพ์ ค่าถ่ายเอกสาร ค่าจ้างพนักงาน รับส่งเอกสาร ประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสาร และนํามาใช้ซื้อคอมพิวเตอร์หรือเพิ่มพื้นที่จานแม่เหล็ก สําหรับใช้ในการเก็บเอกสารแทน เอกสารทุกชิ้นที่น้ําเข้าสู่หน่วยงานสามารถใช้วิธีการถ่ายด้วยเครื่องสแกนเนอร์ ถ้าเป็นวัตถุที่เข้าเครื่องสแกนเนอร์ไม่ได้ก็ใช้กล้องถ่ายภาพดิจิตอลถ่าย แล้วนําไฟล์ภาพเก็บเข้าสู่เครื่อง คอมพิวเตอร์ เมื่อข้อมูลต่าง ๆ เข้าอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลางได้แล้วทุกหน่วยงานก็สามารถจะ เรียกออกไปดูได้
ส่วนงานที่ต้องผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนตามที่หน่วยงานกําหนดไว้ เช่น คําเสนอขอมีบัตรเครดิต คําขอสินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งต้องผ่านการวิเคราะห์เครดิตหรือวิเคราะห์สินเชื่อก่อน แล้วจึงผ่านไป ยังคณะกรรมการเพื่ออนุมัติ จากนั้นจึงส่งผ่านไปยังแผนกที่เกี่ยวข้องเพื่อเปิดบัญชีหรือออกบัตรเครดิตให้ รวมทั้งต้องส่งให้ฝ่ายบัญชีดูแลเรื่องการออกหนังสือแจ้งหนี้ การเรียกเก็บเงินทุกเดือน เป็นต้น เอกสารคําขอ เหล่านี้สามารถส่งเข้ามาทางอินเทอร์เน็ตได้ และสามารถกําหนดได้ว่าใครเปิดดูได้บ้าง ควรเป็นแผนกวิเคราะห์ ลูกค้าหรือวิเคราะห์สินเชื่อที่เปิดดูได้ก่อน เพื่อดําเนินการในขั้นตอนต่อไปหรือส่งผ่านให้แผนกอื่นดําเนินการขึ้น ต่อไป ทางคอมพิวเตอร์ด้วยเครือข่ายอินทราเน็ต ฯลฯ ส่วนเอกสารต้นฉบับตัวจริงสามารถนําเก็บเข้าแฟ้ม ไว้เป็นรายวัน หรือแยกตามรหัสหมายเลขคําขอซึ่งถูกกําหนดโดยเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วจึงเก็บไว้ในห้องเก็บ หลักฐานของสถาบัน จนกว่าลูกค้ารายนี้จะเลิกเป็นลูกค้าของสถาบันการเงินแห่งนี้แล้วจึงจะยกเลิกหรือทําลาย เอกสารเหล่านี้ วิธีนี้จะช่วยลดจํานวนเอกสารที่เป็นกระดาษให้หมดไปหรือทําให้เหลือน้อยที่สุด เนื่องจาก คําขอการบันทึกความเห็น การดําเนินการในแต่ละขั้นตอนหรือการอนุมัติโครงการจะถูกบันทึกเป็นไฟล ข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรหัสหมายเลขเอกสาร โดยมีลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์กํากับการอนุมัติคําขอด้วย การค้นหา และติดตามเรื่องก็สามารถทําได้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งหมดตลอดอายุการเป็นลูกค้า
ข้อดีของระบบสํานักงานไร้เอกสารยังมีอีกมาก เช่น เอกสารจะไม่ตกหล่นหรือสูญหาย ต้นฉบับก็ จะยังคงรูปอยู่ในสภาพที่ดีเหมือนเดิม นอกจากนี้ยังสามารถเก็บความลับได้ดีกว่า เพราะระบบจะอนุญาต ให้บางคนเท่านั้นที่สามารถเข้าไปเปิดดูเอกสารได้ ทําให้ไม่เสียเวลาในการรับส่ง ค้นหา และจัดเก็บเอกสาร การติดตามเรื่องก็ทําได้ง่ายขึ้น สามารถตรวจสอบได้ งานไม่ไปค้างอยู่ที่ส่วนใด
การทํางานจากที่บ้าน (Work from Home)
การใช้เทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทําให้มนุษย์สามารถทํางานจากจุดไหนก็ได้ไม่จําเป็นต้อง เป็นการทํางานในสํานักงานเท่านั้น เมื่อทํางานเสร็จแล้วก็สามารถส่งงานทางอินเทอร์เน็ตได้ หากมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามก็ใช้วิธีการส่งอีเมล์เพื่อติดต่อสอบถามและแจ้งผลระหว่างกันได้ ส่วนการทํางานที่ต้องมี ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานหลายคน จึงจําเป็นต้องจัดให้มีการพบปะประชมปรึกษาหารือกันก่อน เพื่อให้เกิด ความเข้าใจกัน และประชุมเพื่อแบ่งงานกันทํา หลังจากนั้นจึงแยกย้ายกันไปทํางานที่บ้านของแต่ละคน
การทํางานเช่นนี้ทําได้โดยต้องอาศัยความสามารถของระบบอินเทอร์เน็ต 2 ประการ คือ
1. ใช้อีเมล์เพื่อการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน เช่น ผู้เขียนโปรแกรม 3 คนที่ได้รับมอบหมายงาน คนละส่วน สามารถทํางานอยู่ที่บ้าน โดยให้อีเมล์ถามผู้วิเคราะห์ระบบในรายละเอียดต่าง ๆ หรือขอคําปรึกษา หรือขอปรับเปลี่ยนโครงสร้างของโปรแกรมได้ตลอดเวลา ผู้วิเคราะห์ระบบอาจจะอยู่ที่สํานักงานหรือที่บ้าน ก็ได้ ทําหน้าที่เป็นตัวกลางในการติดต่อเชื่อมข้อมูลกับโปรแกรมเมอร์ทุกคน รวมทั้งติดต่อขอความเห็นชอบ จากเจ้าของงาน แต่มันก็ไม่ได้บังคับว่าจะต้องอยู่ในออฟฟิศทุกวัน
2. ระบบอินเทอร์เน็ตที่ใช้ต้องจัดเอกสารให้อยู่ในรูปแบบของแฟ้มข้อมูลที่ง่ายต่อการเรียกใช้งานที่ บ้านได้ และเมื่อทํางานนั้นเสร็จแล้วก็สามารถนํากลับมาบันทึกทับหรือจัดทําเป็นเอกสารใหม่ได้ โดยใช้ โปรแกรมจัดการข้อมูล (Data Processing) เพื่อดําเนินการในขั้นต่อไป ซึ่งต้องใช้ภาษาที่อินเทอร์เน็ตทํางาน ร่วมได้ เช่น ภาษาจาวา เดลไฟว์ หรือ วิชวลเบสิก
นอกจากนี้ อินเทอร์เน็ตก็มีข้อจํากัดที่ไม่สามารถทดแทนการทํางานแบบที่ต้องสอบถามหรือ แลกเปลี่ยนความคิดอย่างรวดเร็วได้ เช่น การประชุม การปรึกษากันเมื่อเกิดปัญหา การเสนอโครงการหรือ แนวคิดใหม่ ๆ การสั่งการแบบที่เน้นความสําคัญหรือต้องชี้แจงรายละเอียดมาก ๆ การสอบสวนหาสาเหตุ ของความผิดพลาดบกพร่องของงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ปฏิบัติต้องพบปะพูดคุยปรึกษากันต่อหน้าหรือต้องระดม สมอง ระดมความคิดจึงจะได้ผลที่ดีที่สุด ดังนั้น สํานักงานจึงยังต้องมีห้องประชุม ห้องทํางานย่อย และ โต๊ะทํางานของพนักงานอยู่ด้วย รวมทั้งมีตู้เก็บเอกสาร คู่มือ ตํารา ประกอบการปฏิบัติงาน หรือเอกสาร อื่น ๆ ของพนักงานแต่ละคนเก็บไว้เป็นสัดส่วนด้วย
การทํางานจากที่บ้านมีข้อดีหลายอย่าง คือ ทํางานได้ต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานได้ โดยมีความ เมื่อยล้าน้อยกว่าในสํานักงาน ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปกลับ ทํางานได้ด้วยเครื่องแต่งตัวแบบตามสบาย ไม่ต้องถูกขัดจังหวะจากเพื่อนร่วมงาน หรือจากโทรศัพท์ การทักทาย ฯลฯ นอกจากนี้ ยังทําให้แต่ละคนมี เวลาดูแลครอบครัวได้ใกล้ชิดมากขึ้นโดยไม่ทําให้เสียงาน พนักงานจึงมีความกังวลใจน้อยลง แต่ข้อเสียของ การทํางานที่บ้าน คือ ต้องเสียค่าใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น และข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอาจ ถูกดักจับหรือขโมยได้
บริการธนาคาร ที่เรียกว่า Internet Banking
ซึ่งจัดทําขึ้นเพื่อให้บริการลูกค้าโดยที่ลูกค้าไม่จําเป็นต้องเดินทางมาที่ธนาคารลูกค้าสามารถใช้ บริการธนาคารได้ในขณะที่นั่งอยู่ในสํานักงานของตนเอง โดยธนาคารยอมให้ลูกค้าใช้คอมพิวเตอร์ของตน เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของธนาคารด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีบริการหลากหลายรูปแบบที่ไม่จํากัด เวลา ลูกค้าสามารถได้รับบริการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เช่น การโอนเงิน การตรวจสอบยอดเงิน การสั่งจ่ายอิเล็กทรอนิกส์ การสั่งซื้อสินค้าผ่านธนาคารอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น